กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11100
ชื่อเรื่อง: ผลของการใช้น้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตผลผลิตและคุณภาพของเมล่อน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of fermented bio-extracts on growth, yield and quality of melon (Cucumis melo L.)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จรรยา สิงห์คำ
นวรัตน์ ดีชุมแสง, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ปริชาติ ดิษฐกิจ
คำสำคัญ: ปุ๋ยชีวภาพ
เมล่อน--การเจริญเติบโต
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสูตรน้ำหมักชีวภาพต่างๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพของผลผลิตของเมล่อนวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 5 ทรีตเมนต์ ๆ ละ 4 ซ้ำ ได้แก่ (1) ปุ๋ยเคมี(ควบคุม) อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 5 ลิตร (2) น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้ อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 5 ลิตร (3) น้ำหมัก ชีวภาพจากนมสด อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 5 ลิตร (4) น้ำหมักชีวภาพจากไข่ อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 5 ลิตร และ (5) น้ำหมักชีวภาพจากหน่อกล้วย อัตรา 30 ซีซี ต่อน้ำ 5 ลิตร เก็บข้อมูลการเจริญเติบโต ผลผลิต และคุณภาพของผลผลิตของเมล่อน วิเคราะห์ความแปรปรวน และเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยวิธี DMRT ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 จากการศึกษาพบว่า การเจริญเตีบโตทางลำต้นของเมล่อนในแต่ละทรีตเมนต์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยน้ำหมักชีวภาพจากไข่มีผลให้ความสูงของต้นเมล่อนสูงสุด เท่ากับ 1,537.70 เซนติเมตร น้ำหมักชีวภาพจากหน่อกล้วยและปุ๋ยเคมีมีความสูงของต้นเมล่อนต่ำสุด เท่ากับ 1,288.80 และ 1,310.50 เซนติเมตร ตามลำดับ เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเมล่อนมีค่าสูงสุดเท่ากับ 6.59 เซนติเมตรจากการใช้น้ำหมักชีวภาพจากผลไม้ ในทางตรงข้ามการใช้ ปุ๋ยเคมีมีค่าเส้นผ่านศูนย์กลางลำต้นเมล่อนต่ำสุดเท่ากับ 5.46 เซนติเมตร ความกว้างใบ ความยาวใบและจำนวนใบของเมล่อนในแต่ละทรีตเมนต์ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-0.05)นอกจากนี้ระยะเก็บเกี่ยวผลผลิต พบว่าเส้นรอบวงผลเมล่อนและน้ำหนักผลเมล่อนในทุกทรีตเมนต์ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยค่าความหวานของเมล่อนมากที่สุดเมื่อได้รับน้ำหมักชีวภาพจากหน่อยกล้วยเท่ากับ 13.75 บริกส์ และเมื่อได้รับน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้ เท่ากับ 13.09 บริกส์
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11100
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons