กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11101
ชื่อเรื่อง: ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าในประเทศไทย : ศึกษากรณีการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 82 และมาตรา 109 แห่ง พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Problem of using wildlife preservation and protection in Thailand: case study of power utilization of officers according to the Section 82 and Section 109 of the Wildlife Preservation and Protection Act B.E. 2562 (2019)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิวิธ วงศ์ทิพย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธานี วงศ์นาค, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
การบังคับใช้กฎหมาย--ไทย
การอนุรักษ์สัตว์ป่า--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า กฎหมายอาญา กฎหมายแพ่ง กฎหมายปกครอง (2) ศึกษากฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 (3) ศึกษาหลักการการบังคับใช้กฎหมายในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง หรือการริบสิ่งปลูกสร้างที่ เป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด โดยศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศมาเลเซีย และประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (4) วิเคราะห์ปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายในการออกคำสั่งทางปกครองรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง หรือการริบสิ่งปลูกสร้างที่เป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำผิด (5) หาแนวทางในการบังคับใช้กฎหมายกรณีรื้อถอนทรัพย์สินอันเป็นสิ่งปลูกสร้าง หรือริบสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยเอกสารโดยศึกษาพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งเอกสาร บทความ คำพิพากษา วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้องและศึกษากฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา จากการศึกษาพบว่า (1) หลักและทฤษฎีกฎหมายมหาชน ความรับผิดทางอาญา ความรับผิดทางแพ่ง และการพิจารณาทางปกครองมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ซึ่งมีมาตรการเชิงบังคับและควบคุม (2) พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายที่กำหนดมาตรการในการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และถิ่นอาศัยของสัตว์ป่า (3) พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 กฎหมาย Endangered Species Act of 1973 ของอเมริกา กฎหมาย Wildlife Conservation Act 2010 ของมาเลเซีย และกฎหมาย Natural Parks Act ของสาธารณรัฐเกาหลี มีมาตรการบังคับที่เหมือนกันและแตกต่างกันรวมทั้งการริบทรัพย์ที่ได้กระทำผิดกฎหมาย (4) การบังคับใช้พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ของพนักงานเจ้าหน้าที่ มาตรา 82 กำหนดให้ออกคำสั่งทางปกครองเพื่อรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และมาตรา 109 กำหนดให้ริบสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งทำให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีปัญหาในทางปฏิบัติ (5) เห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมในวรรคสองของมาตรา 82 โดยกำหนดให้ใช้พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชทางปกครอง พ.ศ. 2539 เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายและรักษาประโยชน์สาธารณะได้อย่างมีประสิทธิผล ป้องกันการใช้ดุลยพินิจอันอาจเกินขอบเขตของพนักงานเจ้าหน้าที่ และให้แก้ไขมาตรา 109 วรรคหนึ่ง โดยให้ยกเลิกคำว่า "สิ่งปลูกสร้าง" ออกจากมาตรานี้จะทำให้กฎหมายมีความชัดเจน และเจ้าหน้าที่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง.
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11101
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168808 FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons