Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11103
Title: | การจัดการการผลิตปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง |
Other Titles: | Oil palm production management under GAP certification of farmer in Kapoe District, Ranong Province |
Authors: | ปริชาติ ดิษฐกิจ ปาริชาติ กอฟัก, 2514- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา จรรยา สิงห์คำ |
Keywords: | ปาล์มน้ำมัน--การผลิต--มาตรฐาน |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรอำเภอกะเปอร์จังหวัดระนอง 2) ศึกษาระดับความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการจัดการการผลิตปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 3) ศึกษาการปฏิบัติการจัดการการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกร 4) ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกร และ 5) ศึกษาปัญหาและ ความต้องการในการจัดการการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกร วิธีวิจัยเป็นวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ คือเกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมันที่ได้รับมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง พ.ศ. 2558 ทั้งหมดจำนวน 45 ราย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 53.56 ปี การศึกษาส่วนใหญ่จบระดับประถมศึกษา สมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน ส่วนใหญ่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง เกษตรกรมากกว่าร้อยละ 50 ใช้เงินทุนของตนเอง สภาพพื้นที่การปลูกส่วนใหญ่เป็นที่ดอนและใช้น้ำฝนเป็นแหล่งน้ำ หลักในการผลิตปาล์มน้ำมัน 2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามข้อกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ในระดับมาก 3) เกษตรกรใช้พันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอร่า ซึ่งซื้อมาจากบริษัท เกษตรใส่ปุ๋ยตามผลวิเคราะห์ดินและใบปาล์มน้ำมัน และมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมด้วย มีการใช้ทางใบปาล์มน้ำมันคลุมดิน ใช้เทคนิคการกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน และไม่มีการตัดปาล์มดิบ เกษตรกรมีการจดบันทึกข้อมูลน้อย 4) ต้นทุนการผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ยเท่ากับ 4,421.06 บาทต่อไร่ผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งหมด 14,350.64 บาทต่อไร่ และกำไรเฉลี่ยเท่ากับ 9,929.58 บาทต่อไร่ 5) ปัญหาของเกษตรกรมีในระดับน้อย โดยมีประเด็นด้านการตลาด คือราคาผลผลิตไม่แน่นอน เกษตรกรมีความต้องการให้มีเจ้าหน้าที่เข้ามาส่งเสริมในการรวมกลุ่มเพื่อประกันราคาปาล์มน้ำมันสำหรับเกษตรกรที่ได้รับมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีเช่นเดียวกับพืชชนิดอื่น |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11103 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License