กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11103
ชื่อเรื่อง: การจัดการการผลิตปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Oil palm production management under GAP certification of farmer in Kapoe District, Ranong Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปริชาติ ดิษฐกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จรรยา สิงห์คำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปาริชาติ กอฟัก, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ปาล์มน้ำมัน--การผลิต--มาตรฐาน
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร ผู้ผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกรอำเภอกะเปอร์จังหวัดระนอง 2) ศึกษาระดับความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับ การจัดการการผลิตปาล์มน้ำมันตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 3) ศึกษาการปฏิบัติการจัดการ การผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกร 4) ศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนของเกษตรกร และ 5) ศึกษาปัญหาและ ความต้องการในการจัดการการผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกร วิธีวิจัยเป็นวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ คือเกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมันที่ ได้รับมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในอำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง พ.ศ. 2558 ทั้งหมดจำนวน 45 ราย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 53.56 ปี การศึกษาส่วนใหญ่ จบระดับประถมศึกษา สมาชิกครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน ส่วนใหญ่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง เกษตรกร มากกว่าร้อยละ 50 ใช้เงินทุนของตนเอง สภาพพื้นที่การปลูกส่วนใหญ่เป็นที่ดอนและใช้น้ำฝนเป็นแหล่งน้ำ หลักในการผลิตปาล์มน้ำมัน 2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการสวนปาล์มน้ำมันตามข้อกำหนด มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ในระดับมาก 3) เกษตรกรใช้พันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอร่า ซึ่ง ซื้อมาจากบริษัท เกษตรใส่ปุ๋ยตามผลวิเคราะห์ดินและใบปาล์มน้ำมัน และมีการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมด้วย มี การใช้ทางใบปาล์มน้ำมันคลุมดิน ใช้เทคนิคการกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน และไม่มีการตัดปาล์มดิบ เกษตรกรมีการจดบันทึกข้อมูลน้อย 4) ต้นทุนการผลิตปาล์มน้ำมันเฉลี่ยเท่ากับ 4,421.06 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเฉลี่ยทั้งหมด 14,350.64 บาทต่อไร่ และกำไรเฉลี่ยเท่ากับ 9,929.58 บาทต่อไร่ 5) ปัญหาของ เกษตรกรมีในระดับน้อย โดยมีประเด็นด้านการตลาด คือราคาผลผลิตไม่แน่นอน เกษตรกรมีความ ต้องการให้มีเจ้าหน้าที่เข้ามาส่งเสริมในการรวมกลุ่มเพื่อประกันราคาปาล์มน้ำมันสำหรับเกษตรกรที่ได้รับ มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีเช่นเดียวกับพืชชนิดอื่น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11103
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons