Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11107
Title: | การใช้เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อยโรงงานแบบใช้รถตัดและใช้คนตัดของเกษตรกรในอำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี |
Other Titles: | The usage of mechanical and manual sugarcane harvesting technology by farmers in Mueang District, of Kanchanaburi Province |
Authors: | สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม วิทยา ยิ่งยวด, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สุนันท์ สีสังข์ |
Keywords: | อ้อย--การเก็บเกี่ยว--ไทย--กาญจนบุรี อุตสาหกรรมอ้อย--ไทย--กาญจนบุรี เทคโนโลยีการเกษตร--ไทย |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทางสังคม เศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ศึกษาสภาพการผลิตอ้อยโรงงานของเกษตรกร 3) ศึกษาและเปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อยโรงงานของเกษตรกรแบบใช้รถตัดและใช้คนตัด 4) ศึกษาและเปรียบเทียบความพึงพอใจของเกษตรกรในการใช้เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อยโรงงานแบบใช้รถตัดและใช้คนตัด 5) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการผลิตและการใช้เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อยโรงงานแบบใช้รถตัดและใช้คนตัด ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรชาวไร่อ้อย ที่เป็นสมาชิกบริษัทไทยเพิ่มพูนอุตสาหกรรม จำกัด ปีการผลิต 2559/2560 แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ 1) เกษตรกรที่ใช้คนตัดจำนวน 173 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 94 ราย โดยใช้สูตรยามาเน่ โดยยอมรับให้มีความคลาดเคลื่อน 0.07 2) เกษตรกรที่ใช้รถตัดจำนวน 131 ราย กำหนดขนาดเท่ากับกลุ่มเกษตรกรที่ใช้คนตัด สุ่มตัวอย่างแบบง่าย การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างแบ่งเป็น 2 ชุด ได้แก่ แบบสัมภาษณ์สำหรับเกษตรกรที่ใช้รถตัดอ้อยและใช้คนตัดอ้อย วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนาและสถิติเปรียบเทียบ (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรที่เก็บเกี่ยวผลผลิตแบบใช้รถตัดส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุเฉลี่ย 50.82 ปี เป็นสมาชิกสมาคมชาวไร่อ้อย มีพื้นที่ปลูกอ้อยเฉลี่ย 117.88 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 1,169.55 ตัน สำหรับเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวแบบใช้คนตัดส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุเฉลี่ย 51.96 ปี เป็นสมาชิกสมาคมชาวไร่อ้อย มีพื้นที่ปลูกอ้อยเฉลี่ย 95.44 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 1,001,05 ตัน 2) เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกอ้อยช่วงฤดูฝน ใช้พันธุ์ขอนแก่น 3 และเก็บพันธุ์ไว้ใช้เอง ซื้อปุ๋ยเคมีจากร้านค้าปลูกอ้อยด้วยเครื่องปลูกทั้งหมด 3) เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มมีการใช้เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวที่แตกต่างกันในทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ได้แก่ ด้านการเก็บเกี่ยวผลผลิต คือ ระยะทางจากไร่ไปถึงโรงงาน ระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บเกี่ยว ประสบการณ์การเก็บเกี่ยวอ้อย และด้านต้นทุนการเก็บเกี่ยว คือ ค่าจ้างตัด ค่ารถบรรทุกอ้อยส่งโรงงาน 4) เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มความมีความพึงพอใจในการใช้เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวผลผลิตอ้อยที่แตกต่างกันในทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ได้แก่ ด้านระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บเกี่ยว ความเสียหายของผลผลิตขณะตัด การจัดการแปลงปลูกหลังการเก็บเกี่ยว ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และราคา 5) เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม มีปัญหาด้านการใช้เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวอยู่ในระดับมาก และมีปัญหาด้านต้นทุนการเก็บเกี่ยวในระดับมาก และมากที่สุด เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะด้านการให้ความรู้ในการผลิตอ้อยอยู่ในระดับปานกลาง และมาก ด้านการสนับสนุนปัจจัยการผลิต ในระดับมากและมากที่สุด ด้านการใช้เทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวผลผลิตอยู่ในระดับปานกลาง และมาก และด้านการสนับสนุนปัจจัยการเก็บเกี่ยวในระดับมาก |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11107 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License