Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1113
Title: การศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายของผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่สา อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Study of changing food consumption and exercise behaviors of health promotion participants at Mea Sa sub-district Mae Rim district in Chiang Mai Province
Authors: สมเดช สิทธิพงศ์พิทยา
อำภา ทองประเสริฐ, 2507-
รัชนีกร โชติชัยสถิตย์
สุจิตรา หังสพฤกษ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการพัฒนาครอบครัวและสังคม--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์--วิทยานิพนธ์
พฤติกรรมสุขภาพ--ไทย
การออกกำลังกาย--ไทย
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย
Issue Date: 2546
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารและการออกกําลังกายของผู้เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพทั้งก่อนและหลังดําเนินโครงการ (2) ศึกษาเจตคติด้านการบริโภคอาหารและการออกกําลังกายของผู้เข้าร่วมโครงการหลังการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพ และ (3) ศึกษาการนําความรู้ความเข้าใจที่ได้รับไปปฏิบัติในครอบครัว หลังการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ ตัวแทนครัวเรือนในตําบลแม่สา อําเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จํานวน 120 คน โดยสุ่มแบบหลายขั้นตอนเป็นกลุ่มทดลอง 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นคู่มือการดําเนินกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารและการออกกําลังกาย และแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.8547 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ วิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและไคว์สแคว ผลการวิจัยมีดังนี้ (1) พฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารและการออกกําลังกายของผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพก่อนและหลังดําเนินโครงการแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยหลังการดําเนินโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมสุขภาพด้านการบริโภคอาหารและการออกกําลังกายดีกว่าก่อนการดําเนินโครงการ สําหรับพฤติกรรมสุขภาพด้านการ บริโภคอาหารและการออกกําลังกายของผู้ไม่ได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพก่อนและหลังดําเนินโครงการไม่แตกต่างกัน (2) ผู้เข้าร่วมโครงการมีเจตคติที่ดีต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกําลังกายภายหลังเข้าร่วมโครงการ (3) ผู้เข้าร่วมโครงการมีการนําความรู้ความเข้าใจที่ได้รับไปปฏิบัติในครอบครัวหลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว
Description: วิทยานิพนธ์ (คศ.ม. (การพัฒนาครอบครัวและสังคม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1113
Appears in Collections:Hum-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext 83311.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.18 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons