กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11143
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of a behaviors developing program for prevention of stroke among patients with hypertension at Borabue District, Maha Sarakham Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
มุกดา หนุ่ยศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
ปรีดี ยศดา, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: โรคหลอดเลือดสมอง--การป้องกันและควบคุม
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มทดลองระหว่างก่อนและหลังทดลอง และหลังทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ขึ้นทะเบียนรับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวหนองและบ้านวังปลาโด อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับต่ำและปานกลาง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ในการคัดเข้าศึกษาเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบตามลำดับ จำนวนกลุ่มละ 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเป็นโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองครอบคลุม 3 ปัจจัย ตามแนวคิดแบบจำลองพรีสีด-โพรสีดของกรีนและครูเตอร์ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย (1) แบบสอบถาม 2 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลทั่วไป และพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาและค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคเท่ากัน คือ .80 (2) เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดปรอท และ (3) แบบบันทึกความดันโลหิตวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติการทดสอบที่สถิติการทดสอบวิลคอกซันแมทช์แพร์สซายน์แรงค์ และสถิติการทดสอบแมนวิทนีย์ยู ผลการวิจัยพบว่า หลังทดลองกลุ่มทดลองมีพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง โดยรวมและรายด้านทุกด้านสูงกว่าก่อนทดลอง และเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีความดันโลหิตซิสโตลิกและไดแอสโตลิกต่ำกว่าก่อนทดลอง และมีความดันโลหิตซิสโตลิกลดลงมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ แต่ความดันโลหิตไดแอสโตลิกลดลงไม่แตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11143
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.88 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons