กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11159
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Technology utilization of maize production for farmers in Sung Men District, Phrae Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธีระพงษ์ กำหนด, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ข้าวโพด--การผลิต--เทคโนโลยีที่เหมาะสม
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--แพร่
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ (2) ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งความรู้ (3) สภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (4) เทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะจากเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ประชากรในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2560/61 ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรจำนวน 498 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Taro Yamane มีความคลาดเคลื่อนร้อยละ 0.07 สุ่มอย่างง่ายได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 145 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าตํ่าสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 49.59 ปี การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประสบการณ์ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 11.29 ปี ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 882.75 กิโลกรัม/ไร่ รายได้จากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 41,154.25 บาท/ปี รายจ่ายจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 24,441.38 บาท/ปี (2) การได้รับความรู้ข้อมูลข่าวสารจากแหล่งความรู้สื่อมวลชน (3) เกษตรกรไม่มีการเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์ดินก่อนปลูก เกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมของภาคเอกชนในการปลูก เก็บเกี่ยวผลผลิตโดยใช้แรงงานคน และไม่มีการคัดแยกฝักเสียขณะเก็บเกี่ยว (4) เทคโนโลยีการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ด้านการเตรียมเมล็ด โดยเกษตรกรเลือกใช้พันธุ์ลูกผสมที่เชื่อถือได้และมีมาตรฐาน มีอัตราความงอกสูง ต้านทานต่อโรครานํ้าค้าง เจริญเติบโตดี เหมาะกับสภาพดินฟ้าอากาศในแต่ละพื้นที่ และ (5) ปัญหาในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในการเตรียมเมล็ดพันธุ์ เมล็ดพันธุ์ไม่มีคุณภาพ ข้อเสนอแนะควรมีการเก็บเมล็ดพันธุ์ใช้เองและให้เจ้าหน้าที่เข้ามาส่งเสริมการเกษตรแนะนำการเก็บพันธุ์ไว้ใช้อย่างถูกวิธี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11159
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons