กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11171
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้าใจฉลากโภชนาการภาคบังคับและส่งเสริมการขายเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลกับพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลของผู้บริโภคในจังหวัดนนทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationship between understanding of mandated nutrition labels and sale promotion of sugary beverages with the beverage consumption behaviors of consumers in Nonthaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิมลิน ริมปิกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
สำอาง สืบสมาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
กานต์รวี มั่งมี, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: เครื่องดื่ม
เครื่องดื่ม--การติดฉลาก
พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--นนทบุรี
การส่งเสริมการขาย
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจสถานการณ์การส่งเสริมการขายของเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลที่วางจำหน่ายในจังหวัดนนทบุรี 2) ศึกษาการรับรู้ต่อฉลากโภชนาการ 3) สำรวจพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล และ 4) ศึกษาปัจจัยด้านการรับรู้ต่อฉลากโภชนาการและการส่งเสริมการ ขายที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคครื่องดื่มที่มีน้ำตาลของประชาชนจังหวัดนนทบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง ประชากร คือ ประชาชนในจังหวัดนนทบุรีที่มีอายุระหว่าง 18-60 ปี กลุ่มตัวอข่าง คือ ประชากรอาขุ 18-60 ปีที่มาใช้บริการห้างสรรพสินค้าในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 398 คน ตามสูตรการคำนวณ คอแครน 1997 ด้วยการเลือกแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้ต่อฉลากโภชนาการและการส่งเสริมการขายที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ข้อมูลรูปแบบการส่งเสริมการขายครื่องดื่มที่มีน้ำตาลจากร้านสะดวกซื้อและซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ใช้การวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) การส่งเสริมการขายเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลที่วางจำหน่ายในจังหวัดนนทบุรีมี 6 รูปแบบหลัก ได้แก่ การลด การแลก การแจก การแถม การใช้บรรจุภัณฑ์ และการใช้ประเด็นทางโภชนาการ 2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 71.74) ระบุว่า มีประสบการณ์ในการอ่านฉลากโภชนาการมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป และร้อยละ 26.37 ของผู้มีประสบการณ์อ่านฉลากโภชนาการของเครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิททุกครั้ง กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 77.66) เลือกอ่านฉลากโภชนาการรูปแบบตารางมากกว่าฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ (ร้อยละ 22.34) โดยข้อมูลอาหาร 3 อันดับแรกที่ผู้บริ โภคให้ความสำคัญในการอ่าน ได้แก่ พลังงานทั้งหมด (ร้อยละ 82.85) น้ำตาล (ร้อยละ 74.43) และ ไขมัน (ร้อยละ 61.81) กลุ่มตัวอย่างที่สามารถประยุกต์ใช้ข้อมูลบนฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ ได้ถูกต้องมีร้อยละ 33. 17 แบบตารางมีเพียงร้อยละ 9.30 3) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 12.06 ระบุว่าดื่มครื่องดื่มชา กาฟ โกโก้ สูตรปกติที่มีการใส่น้ำตาล (มากกว่า 1 ครั้งต่อวัน) และ4)ปัจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคเดรื่องดื่มที่มีน้ำตาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)ได้แก่ อายุ ค่าดัชนีมวลกาย ความรู้ด้านการอ่านฉลากโภชนาการ และอิทธิพลของการส่งเสริมการขายที่มีต่อผู้บริโภค
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.(การจัดการระบบอาหารเพื่อโภชนาการ)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11171
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Hum-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons