กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11174
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการใช้ถ่านชีวภาพในการปรับปรุงดินของเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียน ในอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension of biochar utilization for soil improvement of Durian Farmers in Lablae District, Uttaradit Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปริชาติ ดิษฐกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภาภรณ์ งาเนียม, 2531
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ทุเรียน -- การปลูก
วัสดุปรับปรุงดิน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. -- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. -- วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร -- วิทยานิพน
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจ 2) สภาพการผลิตทุเรียนของเกษตรกร 3) ความรู้เกี่ยวกับการใช้ถ่านชีวภาพในการปรับปรุงดิน 4) ความต้องการการส่งเสริมการใช้ถ่านชีวภาพในการปรับปรุงดิน และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะของการส่งเสริมการใช้ถ่านชีวภาพในการปรับปรุงดินประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ทุเรียน อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 175 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 122 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 56.99 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ผลิตทุเรียนเฉลี่ย 21.79 ปี ส่วนใหญ่มีการจ้างแรงงาน 2 คนมีพื้นที่ปลูกทุเรียนเฉลี่ย 18.79 ไร่ 2) สภาพการผลิตทุเรียนของเกษตรกร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นลักษณะเนินเขา ดินเป็นดินร่วนปนทราย นิยมปลูกพันธุ์หมอนทอง มีปริมาณผลผลิตเฉลี่ย 8,638.93 กิโลกรัมต่อปี และมีต้นทุนการผลิตรวมเฉลี่ย 92,627.05 บาทต่อปี 3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้ถ่านชีวภาพในการปรับปรุงดินระดับมาก และมีความรู้ในด้านการใช้วัสดุในการปรับปรุงดินกรด 4) เกษตรกรมีความต้องการในการส่งเสริมการใช้ถ่านชีวภาพในการปรับปรุงดินระดับมากในประเด็น การกักเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง และเทคนิควิธีการผลิตถ่านชีวภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิต 5) ปัญหาด้านน้ำ เนื่องจาก ภาวะฝนทิ้งช่วง และภัยธรรมชาติที่เหนือการควบคุม ข้อเสนอแนะควรส่งเสริมให้มีการทำแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11174
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
169136.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons