Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11182
Title: แนวทางการพัฒนาการจัดการวิสาหกิจชุมชนในอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
Other Titles: แนวทางการพัฒนาการจัดการวิสาหกิจชุมชนในอำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
Authors: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรศิริ ลายไม้, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: วิสาหกิจชุมชน -- การบริหาร
วิสาหกิจชุมชน -- ไทย -- ราชบุรี
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคมและเศรษฐกิจของคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชน 2) การจัดการวิสาหกิจชุมชนของคณะกรรมการ 3) ปัญหาในการจัดการวิสาหกิจชุมชนของคณะกรรมการ และ 4) แนวทางการพัฒนาการจัดการวิสาหกิจชุมชนของคณะกรรมการประชากรที่ศึกษา คือ คณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนในอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ที่ได้รับอนุมัติการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548 ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม 2564 จำนวน 37 กลุ่ม โดยมีคณะกรรมการทั้งสิ้น 185 คน กำหนดขนาดตัวอย่าง โดยใช้สูตรทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 127 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยการจับสลาก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) คณะกรรมการร้อยละ 59.8 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 53.52 ปี ร้อยละ 29.9 จบปริญญาตรี ร้อยละ 73.2 ไม่มีตำแหน่งทางสังคม ร้อยละ 63.0 ไม่เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกรอื่น ระยะเวลาการเป็นสมาชิกกลุ่มเฉลี่ย 6.00 ปี ร้อยละ 48.0 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีรายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 280,105.98 บาทต่อปี 2) การจัดการวิสาหกิจชุมชนด้านประเด็นการจัดการในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีการจัดการด้านการประสานงานสูงที่สุด ด้านวิธีการส่งเสริมในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีการประสานการส่งเสริมจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรสูงที่สุด ด้านการสนับสนุน ได้รับการสนับสนุนมากที่สุด คือ ด้านการให้คำปรึกษา/แนะนำ 3) ปัญหาในการจัดการวิสาหกิจชุมชน ด้านประเด็นการจัดการในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีปัญหาด้านการวางแผนสูงที่สุด คือ การจัดทำแผนปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างคณะกรรมการและสมาชิก เพื่อกำหนดเป้าหมายและทิศทางของกลุ่มไม่ชัดเจน ด้านวิธีการส่งเสริมในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีปัญหาสูงที่สุด คือ คณะกรรมการขาดทักษะในการใช้แพลตฟอร์มการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น อิเลิร์นนิง ด้านการสนับสนุน ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย มีปัญหาสูงที่สุด คือ เงื่อนไขในการเข้าถึงงบประมาณจากภาครัฐมีข้อกำหนดมาก 4) แนวทางการพัฒนาการจัดการวิสาหกิจชุมชนในภาพรวม ด้านประเด็นการจัดการคณะกรรมการเห็นด้วยในะดับมากแต่เจ้าหน้าที่เห็นด้วยในระดับปานกลาง โดยเห็นด้วยสูงที่สุดคือคณะกรรมการและสมาชิกควรให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานของกลุ่มทุกครั้งด้านวิธีการส่งเสริมคณะกรรมการและเจ้าหน้าที่เห็นด้วยในระดับมาก โดยเห็นด้วยสูงสุด คือ เจ้าหน้าที่ควรให้ความรู้ คำแนะนำ ปรึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาการจัดการวิสาหกิจชุมชนแก่คณะกรรมการ และด้านการสนับสนุน คณะกรรมการและเจ้าหน้าที่เห็นด้วยในระดับมาก โดยเห็นด้วยสูงสุด คือ คณะกรรมการควรมีความเสียสละ อุทิศตน อุทิศเวลา ทุ่มเท ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของกลุ่ม และเจ้าหน้าที่ควรประสานด้านงบประมาณในการดำเนินงานกับหน่วยงานต่าง ๆ
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11182
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
169158.pdfเอกสารฉบับเต็ม24.95 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons