กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11191
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาเครือข่ายของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรแปรรูปผลผลิตด้านการเกษตรของจังหวัดสระบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: แนวทางการพัฒนาเครือข่ายของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรแปรรูปผลผลิตด้านการเกษตรของจังหวัดสระบุรี
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
รัตนาภรณ์ เรพล, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน
คำสำคัญ: การแปรรูปผลิตผลเกษตร
เกษตรกร--การรวมกลุ่ม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร (2) ความรู้เกี่ยวกับเครือข่ายของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร (3) สภาพการเชื่อมโยงเครือข่ายของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการพัฒนาเครือข่ายกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร (5) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของเครือข่ายกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร (6) แนวทางการพัฒนาเครือข่ายของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรแปรรูปผลผลิตด้านการเกษตรของจังหวัดสระบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรของจังหวัดสระบุรี จำนวน 314 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้จำนวน 176 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 45.85 ปี ร้อยละ 32.4 จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา 2) ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับเครือข่ายในระดับมากที่สุด โดยมีความรู้มากในประเด็น สมาชิกเครือข่ายต้องเข้าใจเป้าหมายในการรวมตัวกันเพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จในภาพรวม สมาชิกเครือข่ายต้องสร้างความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อนอย่างแน่นแฟ้นในทุกระดับ และสมาชิกเครือข่ายต้องให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมด้วยความสมัครใจ 3) ร้อยละ 79.5 มีความสามารถในการใช้สมาร์ทโฟนและสื่อสารสนเทศในการติดต่อเชื่อมโยงเครือข่ายกับสมาชิกเครือข่าย องค์กรเกษตรกร และหน่วยงานต่าง ๆ 4) ปัญหาการพัฒนาครือข่ายคือความไม่ชัดเจนของวัตถุประสงค์และเป้าหมาย การสื่อสารด้อยประสิทธิภาพ ความแตกต่างทางด้านฐานะและความเข้มแข็งกลุ่มการประเมินผลการดำเนินงาน ข้อเสนอแนะสมาชิกกลุ่มเครือข่ายจะต้องมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดเป้าหมายและแนวทางการพัฒนา 5) ความสำเร็จของเครือข่ายขึ้นกับความสามารถของผู้นำ สมาชิกจะต้องมีกิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เครือข่ายควรมีกฎ/ระเบียบ/ข้อบังคับอย่างชัดเจน ต้องมีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง มีการถ่ายทอดควารมรู้สู่สมาชิกรุ่นใหม่ สมาชิกมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ร่วมตัดสินใจและลงมือร่วมปฏิบัติ 6) แนวทางการพัฒนาเครือข่าย คือ สมาชิกเครือข่ายต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกัน ต้องมีช่องทางติดต่อสื่อสาร ต้องมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ต้องมีการติดตามประเมินผล และมีการขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ.
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11191
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
169134.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons