กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11195
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลแม่สาย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of a nursing documentation model in the Accident and Emergency Unit, Maesai Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิไล กุศลวิศิษฎ์กุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิริพร จักรอ้อม, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: บันทึกการพยาบาล
การพยาบาล--ไทย--เชียงราย
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของแบบบันทึกทางการพยาบาลในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลแม่สาย 2) สร้างรูปแบบการบันทึกทางการพยาบาล และ 3) เปรียบเทียบผลของการใช้รูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลก่อนและหลังการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะศึกษาปัญหา มี 2 กลุ่ม ได้แก่ (1) พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินที่ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 17 คน (2) แบบบันทึกทางการพยาบาลด้วยรูปแบบเดิมที่ได้จากการสุ่มแบบมีระบบ จำนวน 87 ชุด 2) ระยะพัฒนา เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานแห่งนี้ จำนวน 5 คนที่ถูกคัดเลือกแบบเจาะจง และ 3) ระยะทดลองใช้ ได้แก่ (1) พยาบาลวิชาชีพกลุ่มเดียวกับระยะศึกษาปัญหา และ (2) แบบบันทึกทางการพยาบาลด้วยรูปแบบใหม่ที่ได้จากวิธีการเดียวกับแบบบันทึกทางการพยาบาลเดิม จำนวน 87 ชุดที่ได้จากการสุ่มแบบมีระบบเช่นกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีดังนี้ 1) แบบบันทึกทางการพยาบาลเดิม 2) แบบบันทึกทางการพยาบาลใหม่ 3) แบบตรวจสอบคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลและคู่มือ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลต่อรูปแบบการบันทึกทางการพยาบาล โดยเครื่องมือวิจัย 3) และ 4) ผ่านการหาค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.91 และ 0.96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการบันทึกทางการพยาบาลที่พบ ได้แก่ วิธีการบันทึกไม่ครอบคลุมตามกระบวนการพยาบาล บันทึกไม่ครอบคลุมไม่ถูกต้องและไม่ต่อเนื่อง 2) รูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย (1) แบบบันทึก 2 ประเภท ได้แก่ แบบบันทึกการประเมินผู้ป่วย และแบบบันทึกแผนการพยาบาล กิจกรรมการพยาบาล ความก้าวหน้าของผู้ป่วย และสรุปการจำหน่ายผู้ป่วย และ (2) วิธีการบันทึกตามแนวคิดของกระบวนการพยาบาลและความต้องการแบบองค์รวมของผู้ป่วย 3) ค่าเฉลี่ยของคะแนนคุณภาพของการบันทึกทางการพยาบาลโดยรวมสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความพึงพอใจของพยาบาลต่อรูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลที่พัฒนาขึ้นโดยรวมสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11195
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Nurse-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons