กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11200
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามหลักการบริหารเชิงดุลยภาพของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development guidelines for the community enterprise in compliance with balanced scorecard concepts of the community enterprise entrepreneurs in Phanat Nikhom District, Chon Buri Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธัญญ์รภัสร์ จงชัยพัฒน์, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: วิสาหกิจชุมชน -- การบริหาร
วิสาหกิจชุมชน -- ไทย -- ชลบุรี
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ปัจจัยพื้นฐานด้านสังคมและเศรษฐกิจของ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี 2) ศึกษาและเปรียบเทียบการดำเนินงานตามหลักการบริหารเชิงดุลยภาพของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 3) ศึกษาปัญหาและความต้องการในการส่งเสริมการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามหลักการบริหารเชิงดุลยภาพ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนระดับดี 3 กลุ่ม ในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกนได้กลุ่มตัวอย่าง 144 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว 2) ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ประกอบไปด้วยประธานกลุ่ม คณะกรรมการกลุ่ม สมาชิกกลุ่ม และเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ที่รับผิดชอบงานวิสาหกิจชุมชนรวมทั้งสิ้น 24 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสนทนากลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 53.01 ปี จบการศึกษาประถมศึกษาแหล่งข้อมูลที่ได้รับเกี่ยวกับการพัฒนาด้านวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่ ได้รับจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรผู้รับผิดชอบตำบล 2) การดำเนินงานตามหลักการบริหารจัดการเชิงดุลยภาพ ระดับมาก 2 ด้าน ได้แก่ ด้านกระบวนการภายในและด้านการเรียนรู้และการพัฒนา และ ระดับปานกลาง 2ด้าน ได้แก่ ด้านการเงินและด้านลูกค้า ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว พบว่า ทั้ง 3 กลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในด้านการเงิน และด้านกระบวนการภายใน 3) ปัญหาในการส่งเสริมอยู่ในระดับ ปานกลาง ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการส่งเสริม และ ด้านการสนับสนุน ส่วนผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว พบว่าทั้ง 3 กลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้ง 3 ด้าน สมาชิกมีความต้องการในการส่งเสริมในระดับมากทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ หน่วยงานสนับสนุนต่างๆ ด้านเนื้อหา และด้านวิธีการส่งเสริม ส่วนผลการวิเคราะห์ความแปรปรวน แบบ ทางเดียว พบว่า ทั้ง 3 กลุ่มแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้ง 2 ด้านได้แก่ หน่วยงานสนับสนุนต่างๆ และด้านวิธีการส่งเสริม 4) แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนตามหลักการบริหารเชิงดุลยภาพ (1) ด้านการเงิน ได้แก่ ส่งเสริมด้านการจัดการบัญชีครัวเรือนเป็นพื้นฐาน และส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนภายในวิสาหกิจชุมชน เพื่อลดการพึ่งพาจากแหล่งเงินทุนภายนอก (2) ด้านลูกค้าได้แก่ ส่งเสริมการใช้สื่อออนไลน์ เพื่อการตลาดและประชาสัมพันธ์สินค้าการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (3) ด้านกระบวนการภายใน ได้แก่ ส่งเสริมการบริหารจัดการกลุ่มที่เป็นระบบ (4) ด้านการเรียนรู้และการพัฒนา ได้แก่ การศึกษาดูงานจากวิสาหกิจชุมชนที่ประสบความสำเร็จ และมีผู้เชี่ยวชาญหรือวิทยากรมาให้ความรู้ในการสร้างมาตรฐานต่าง ๆ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11200
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
169135.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons