กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11206
ชื่อเรื่อง: แนวทางการเสริมสร้างศักยภาพของวิสาหกิจชุมชน อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Capacity building guidelines for community enterprises in Thoeng District, Chiang Rai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
นวพร ชอบเดิน, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: วิสาหกิจชุมชน -- การบริหาร
วิสาหกิจชุมชน -- ไทย -- เชียงราย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. -- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ -- วิทยานิพนธ์.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. -- วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร -- วิทยานิพนธ์
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสภาพสังคมของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 2) ความรู้และแหล่งความรู้ของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 3) ความคิดเห็นและความต้องการของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 4) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน และ 5) ปัญหาข้อเสนอแนะ และแนวทางการเสริมสร้างศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนประชากร คือ สมาชิกวิสาหกิจชุมชนอำเภอเทิง ทั้งหมด 1,988 ราย ทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร ยามาเน จำนวน 186 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการจัดกลุ่มหมวดหมู่ของข้อมูล ส่วนสนทนากลุ่มทำการคัดเลือกตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 20 คน เพื่อทำการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับ จุดแข็ง จุดอ่อนโอกาส อุปสรรค และวิเคราะห์โดยการจัดหมวดหมู่ ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกวิสาหกิจชุมชน โดยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 50.77 ปี สถานภาพสมรส รายได้ในภาคการเกษตรเฉลี่ยต่อครัวเรือน 85,586.02 บาทต่อปี รายได้นอกภาคการเกษตร 55,252.69 บาทต่อปี รายจ่ายในภาคการเกษตรเฉลี่ยต่อครัวเรือน 40,029.57 บาทต่อปี รายจ่ายนอกภาคการเกษตรเฉลี่ยครัวเรือน 36,104.84 บาทต่อปี 2) ความรู้เกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนของสมาชิก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนแหล่งความรู้ที่ได้รับ ในภาพรวมอยู่ระดับมาก โดยได้รับจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด รองลงมาคือ สื่อบุคคล 3) ความคิดเห็นของสมาชิกวิสาหกิจชุมชนต่อการดำเนินงาน โดยภาพรวมอยู่ระดับมาก โดยเฉพาะหมวดที่ 6 การจัดการสินค้าหรือบริการในประเด็นกระบวนการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สมาชิกมีความต้องการเกี่ยวกับผลลัพธ์การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนระดับมาก โดยเฉพาะในประเด็นการสร้างความสามัคคี 4) การมีส่วนร่วมของสมาชิก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะหมวดที่ 2 การร่วมวางแผนการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน ในประเด็นการร่วมชี้แจงแผนให้กับเพื่อนสมาชิก และหมวดที่ 7 ผลลัพธ์การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน ในประเด็น การร่วมสร้างความพึงพอใจให้กับบริการลูกค้า และการร่วมสร้างความปลอดภัยกับลูกค้า 5) ปัญหาโดยภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง โดยเฉพาะในประเด็นขาดแหล่งจำหน่ายหรือตลาดที่ไม่แน่นอน ข้อเสนอแนะของสมาชิก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ในประเด็นควรสร้างจิตสำนึกในการเป็นสมาชิก ส่งเสริมสมาชิกให้มีส่วนร่วม ในการทำแผน การควบคุมคุณภาพสินค้า และแนวทางเสริมสร้างศักยภาพวิสาหกิจชุมชน ด้านความรู้ การส่งเสริมด้านการพัฒนา การบริหารกลุ่ม และด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์กลุ่ม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11206
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
169131.pdfเอกสารฉบับเต็ม30.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons