กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11219
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคปอดอักเสบ สถาบันโรคทรวงอก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of a discharge planning model for elderly patients with Pneumonia at Central Chest Institute of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา ชนากานต์ แท้วิริยะกุล, 2513- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | ปอดอักเสบ โรงพยาบาล--การรับและการจำหน่ายผู้ป่วย ผู้สูงอายุ--การดูแล โรคปอดอักเสบ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของรูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคปอดอักเสบ สถาบันโรคทรวงอก 2) พัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยสูงอายุที่ป่วยโรคนี้ และ 3) เปรียบเทียบการรับรู้สรรถนะแห่งตนและความพึงพอใจต่อรูปแบบการวางแผนจำหน่ายของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคปอดอักเสบระหว่างก่อนและหลังพัฒนา กลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการคัดเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1) ระยะศึกษาปัญหา มี 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) พยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยอายุรกรรมปอดหญิงที่ร่วมระดมสมอง จำนวน 9 คน (2) ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคปอดอักเสบที่ได้รับการสัมภาษณ์ จำนวน 6 คน และ (3) ผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคปอดอักเสบ จำนวน 35 คน 2) ระยะการพัฒนา เป็นพยาบาลวิชาชีพในหอป่วยอายุรกรรมปอดหญิง จำนวน 9 คน และ 3) ระยะทดลองใช้ เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคปอดอักเสบ จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีดังนี้ 1 ระยะศึกษาปัญหา และ 3) ระยะทดลอง ได้แก่ แบบประเมินการรับรู้สมรรถะแห่งตน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ดูแลต่อรูปแบบการวางแผนจำหน่าย ผ่านการหาค่าความเที่ยง เท่ากับ .96 ทั้งสองฉบับ และ 2) ระยะการพัฒนา ได้แก่ รูปแบบการวางแผนจำหน่ายที่พัฒนาขึ้น และโครงการอบรมเรื่องการใช้รูปแบการวางแผนจำหน่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ ยู ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาของรูปแบบการวางแผนจำหน่ายที่ใช้อยู่ แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านโครงสร้าง ได้แก่ มีนโยบายการวางแผนจำหน่ายแต่ไม่มีรูปแบบที่เป็นลายลักษณ์อักษรโดยขาดการมีส่วนร่วมของผู้ดูแลและขาดอุปกรณ์การวางแผนจำหน่าย (2) ด้านกระบวนการ ได้แก่ ขาดขั้นตอนการปฏิบัติและการบันทึกการวางแผนจำหน่ายที่เป็นระบบ และ (3) ด้านผลลัพธ์ ได้แก่ ไม่มีประเมินผลอย่างเป็นระบบ 2) รูปแบบการวางแผนจำหน่ายที่พัฒนาขึ้น มีขั้นตอนอย่างเป็นระบบตั้งแต่การประเมินผู้ป่วยและผู้ดูแล กาวินิจฉัย การวางแผนการร่วมกันระหว่างพยาบาล ผู้ป่วย และผู้ดูแล การปฏิบัติตามแผน และการประมินผล โดยการวางบูรณาการกับการใช้รูปแบบ D-METHOD และการเสริมสร้างพลังอำนาจ ร่วมกับการใช้แบบบันทึกการวางแผนจำหน่าย เอกสารวิธีการเคาะปอดระบายเสมหะ การใช้หุ่นจำลองสายยางให้อาหารและท่อเจาะคอ และ 3) ค่าเฉลี่ยของคะแนนการรับรู้สรรถนะแห่งตนและความพึงพอใจของผู้ดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคปอดอักเสบหลังการพัฒนาสูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11219 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.63 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License