Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11220
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorวันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอารีย์ เสถียรวงศา, 2506--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2024-01-22T07:08:59Z-
dc.date.available2024-01-22T07:08:59Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11220-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561th_TH
dc.description.abstractการวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชุมพร วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชุมพร ทั้ง 9 แห่ง จำนวน 93 คน ระยะที่ 2 สร้างโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ โดยนำข้อมูลจากผลการวิเคราะห์ในระยะที่ 1 ประกอบด้วย คู่มือการเสริมสร้างสมรรถนะและกิจกรรมการอบรมระยะที่ 3 ประเมินผลการนำโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะไปใช้ กลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ พยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลละแม จังหวัดชุมพร จำนวน 16 คน โดยพยาบาลวิชาชีพที่เข้าร่วมโปรแกรมประเมินสมรรถนะตนเอง และผู้อื่นประเมิน ได้แก่ แพทย์และหัวหน้างานเครื่องมือวิจัย เป็นแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ใช้สำหรับการประเมินสมรรถนะพยาบาลก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยบูรณาการแนวคิดของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (2561) และสมาคมพยาบาลฉุกเฉินแห่งประเทศแคนาดา (2014) ร่วมกับบริบทของโรงพยาบาลชุมชน ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าความตรงตามเนื้อหา 0.97 และวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค มีค่า .98 การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบที และการประเมินความเชื่อมั่นระหว่างผู้ประเมิน ผลการศึกษาพบดังนี้ (1) พยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลชุมชนทั้ง 9 แห่ง จำนวน 93 คน ประเมินสมรรถนะตนเองทุกด้านโดยรวมอยู่ในระดับสูง และ (2) สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 16 คน ที่เขาร่วมโปรแกรมมีสมรรถนะสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 000) และผลประเมินความเชื่อมั่นระหว่างแพทย์และหัวหน้างาน ภายหลังหลังเข้าโปรแกรมมีค่าความสอดคล้องภายในมีค่า 0.75 ทั้งนี้ เป็นเพราะว่าโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะที่พัฒนาขึ้น มีกระบวนการพัฒนาจากการบูรณาการแนวคิดทั้งในและต่างประเทศที่เชื่อถือได้ รวมทั้งผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญก่อนนำไปใช้th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectการพยาบาลฉุกเฉิน--การฝึกอบรมth_TH
dc.subjectพยาบาล--ไทย--ชุมพร--การฝึกอบรมในงานth_TH
dc.titleการพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชุมพรth_TH
dc.title.alternativeThe development of a competency enhancement program for professional nurses at the emergency and trauma unit in a community hospital, Chumphon Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purpose of the research and development was to develop a competency enhancement program for professional nurses at the Emergency and Trauma Unit (ETU) in community hospitals, Chumphon province. The research method was divided into 3 phases:1) evaluating self-competency of 93 nurses at ETU in 9 community hospitals; 2) developing the competency enhancement program for professional nurses at the ETU, including handbook and program training activities, and 3) evaluating the program implementation. The sample selected by purposive sampling was 16 professional nurses who worked at a community hospital in Chumphon province. The questionnaires used as research tools were developed by the researcher based on National Institute for Emergency Medicine (2561) and the National Emergency Nurses Association, Canada (2014). The tools were verified by five experts, and content validity index was 0.9. The reliability of the questionnaires by using Cronbach’s alpha coefficient was 0.98. The program evaluation was self- evaluated by professional nurses who participating in the program. The physician and nurses’ supervisors also evaluated the competency of 16 nurses. The data were analyzed by percentage, mean, Paired t-test, Inter- Rater Reliability, and content analysis. The results showed as follows. 1) Ninety three nurses at the Emergency and Trauma Units in 9 community hospitals in Chumphon province rated their competencies at the level high. The competency of 16 nurses at the community hospital after participated in the program was statistically significantly higher than before (p < .000). The Inter-Rater Reliability between physician and nurses’ supervisors was 0.75. This is because the capacity building program was developed according to integration of reliable concepts from both national and international. The program was also verified by experts before implementing.en_US
Appears in Collections:Nurse-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.78 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons