Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11220
Title: | การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชุมพร |
Other Titles: | The development of a competency enhancement program for professional nurses at the emergency and trauma unit in a community hospital, Chumphon Province |
Authors: | บุญทิพย์ สิริธรังศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา อารีย์ เสถียรวงศา, 2506- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | การพยาบาลฉุกเฉิน--การฝึกอบรม พยาบาล--ไทย--ชุมพร--การฝึกอบรมในงาน |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชุมพร วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นการประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดชุมพร ทั้ง 9 แห่ง จำนวน 93 คน ระยะที่ 2 สร้างโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ โดยนำข้อมูลจากผลการวิเคราะห์ในระยะที่ 1 ประกอบด้วย คู่มือการเสริมสร้างสมรรถนะและกิจกรรมการอบรมระยะที่ 3 ประเมินผลการนำโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะไปใช้ กลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ พยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลละแม จังหวัดชุมพร จำนวน 16 คน โดยพยาบาลวิชาชีพที่เข้าร่วมโปรแกรมประเมินสมรรถนะตนเอง และผู้อื่นประเมิน ได้แก่ แพทย์และหัวหน้างานเครื่องมือวิจัย เป็นแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ใช้สำหรับการประเมินสมรรถนะพยาบาลก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นโดยบูรณาการแนวคิดของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (2561) และสมาคมพยาบาลฉุกเฉินแห่งประเทศแคนาดา (2014) ร่วมกับบริบทของโรงพยาบาลชุมชน ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน มีค่าความตรงตามเนื้อหา 0.97 และวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค มีค่า .98 การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบที และการประเมินความเชื่อมั่นระหว่างผู้ประเมิน ผลการศึกษาพบดังนี้ (1) พยาบาลวิชาชีพงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลชุมชนทั้ง 9 แห่ง จำนวน 93 คน ประเมินสมรรถนะตนเองทุกด้านโดยรวมอยู่ในระดับสูง และ (2) สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 16 คน ที่เขาร่วมโปรแกรมมีสมรรถนะสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 000) และผลประเมินความเชื่อมั่นระหว่างแพทย์และหัวหน้างาน ภายหลังหลังเข้าโปรแกรมมีค่าความสอดคล้องภายในมีค่า 0.75 ทั้งนี้ เป็นเพราะว่าโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะที่พัฒนาขึ้น มีกระบวนการพัฒนาจากการบูรณาการแนวคิดทั้งในและต่างประเทศที่เชื่อถือได้ รวมทั้งผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญก่อนนำไปใช้ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11220 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.78 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License