กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11233
ชื่อเรื่อง: | การส่งเสริมการผลิตและการตลาดกล้วยหอมทองเพื่อการส่งออกของเกษตรกรในอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | การส่งเสริมการผลิตและการตลาดกล้วยหอมทองเพื่อการส่งออกของเกษตรกรในอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุนันท์ สีสังข์ พวงชมพู ประเสริฐศรี, 2532- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พลสราญ สราญรมย์ |
คำสำคัญ: | กล้วยหอมทอง--การปลูก การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--สุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตและการตลาดกล้วยหอมทอง 3) ความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดกล้วยหอมทองเพื่อการส่งออก 4) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตและการตลาดกล้วยหอมทองเพื่อการส่งออก และ 5) ปัญหาของเกษตรกรเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดกล้วยหอมทองเพื่อการส่งออกประชากรในการวิจัยคือ เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมที่ไดรับการรับรองมาตรฐานเกษตรดีที่เหมาสม ในเขตอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 122 ราย เก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมดโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาหรือสูงกว่า อายุเฉลี่ย 42 ปี ประสบการณ์การผลิตกล้วยหอมทองเฉลี่ย 6 ปี ได้รับความรู้ด้านการผลิตและการตลาดกล้วยหอมทองจากเครือญาติ/เพื่อนบ้าน รองลงมาคือ เอกสารจากหน่วยของเกษตรกรงานราชการ และเว็บไซต์ ตามลำดับ 2) เกษตรกรปลูกกล้วยหอมทองในพื้นที่ลาดเอียง ไม่ไถเตรียมดินก่อนปลูกกล้วยหอมทอง ใช้พันธุ์กล้วยหอมทองค่อมโดยการซื้อพันธุ์ ระยะปลูก 3 x 3 เมตร ใช้ปุ๋ยหินฟอสเฟตและปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุมก่อนปลูก นิยมปลูกกล้วยหอมทองในเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ใส่ปุ๋ยในระยะก่อนการเก็บผลผลิต มีการปลูกพืชแซมสวนกล้วยหอมทอง ตัดแต่งในฤดูร้อน กำจัดวัชพืชโดยใช้แรงงานคนจำนวน 2 ครั้ง/รอบการผลิต การเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 5 -10 เดือน กำจัดโรคและแมลงด้วยชีววิธี และได้รับผลผลิตน้อยกว่า 100 กิโลกรัม/รอบการผลิต 3) เกษตรกรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดกล้วยหอมทองเพื่อการส่งออกอยู่ในระดับดีมาก โดยจำนวนเกษตรกรตอบอย่างถูกต้องเกินกว่าร้อยละ 70 เกือบทุกข้อ ยกเว้น ประเด็นเดียวคือ ความลึกในการปลูกกล้วยหอมเท่านั้น 4) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการผลิตและการตลาดกล้วยหอมทองจากสื่อบุคคลมากที่สุด รองลงมาคือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อสิ่งพิมพ์โดยต้องการให้มีการสาธิต บรรยาย ฝึกปฏิบัติ และทัศนศึกษา และ 5) ปัญหาเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดกล้วยหอมทอง ได้แก่ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ พื้นที่ไม่เหมาะสม การเก็บเกี่ยวผลผลิตการปลูกพืชร่วม การขาดน้ำในฤดูแล้ง การขาดการรวมกลุ่มเกษตรกร และไฟไหม้สวน นอกจากนี้ เกษตรกรปีปัญหาในการปลูกและดูแลรักษา การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช และเงินทุนการผลิต |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11233 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
169159.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.27 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License