กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11236
ชื่อเรื่อง: การสอบสวนคดีวิสามัญฆาตกรรม : ศึกษาเฉพาะกรณีการชันสูตรพลิกศพ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Inquest of extrajudicially kill cases: case study of post-mortem examination
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนวันต์ บุ่นวรรณา, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: การสอบสวนคดีอาญา
การชันสูตรพลิกศพ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงความเป็นมา แนวคิด หลักการที่เกี่ยวกับการชันสูตรพลิกศพในคดีวิสามัญฆาตกรรม (2) ศึกษากระบวนการค้นหาความจริงและการตรวจสอบถ่วงดุลการชันสูตรพลิกศพในคดีวิสามัญฆาตกรรม (3) ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการชันสูตรพลิกศพ และการตรวจสอบถ่วงดุลในการชันสูตรพลิกศพในคดีวิสามัญฆาตกรรมของประเทศไทย สหรัฐอเมริกาและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (4) ศึกษาและเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับการชันสูตรพลิกศพในการสอบสวนคดีวิสามัญฆาตกรรมให้มีความเหมาะสมกับประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดเกี่ยวกับการชันสูตรพลิกศพในคดีวิสามัญฆาตกรรมนั้น ถือว่าการชันสูตรพลิกศพเป็นส่วนหนึ่งของการสอบสวน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาสาเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย (2) กระบวนการค้นหาความจริงและการตรวจสอบถ่วงดุลการชันสูตรพลิกศพในคดีวิสามัญฆาตกรรมนั้น กฎหมายกำหนดให้เจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนร่วมในการชันสูตรพลิกศพ 4 ฝ่าย ได้แก่พนักงานสอบสวน แพทย์ พนักงานอัยการและพนักงานฝ่ายปกครอง (3) ระบบการชันสูตรพลิกศพของไทยเป็นระบบตำรวจ พนักงานสอบสวนมีบทบาทหลักในการชันสูตรพลิกศพ ส่วนแพทย์ พนักงานอัยการ และพนักงานฝ่ายปกครองที่เข้าร่วมในการชันสูตรพลิกศพเป็นเพียงแค่ผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงานสอบสวนเท่านั้น การควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพในคดีวิสามัญฆาตกรรมจึงไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรเมื่อเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกาและสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (4) ผู้ศึกษาจึงขอเสนอแนะและปรับปรุงกฎหมายโดยเพิ่มบทบาทแพทย์ในการชันสูตรพลิกศพ ณ สถานที่พบศพ ลดบทบาทของตำรวจให้เป็นเพียงผู้ช่วยเหลือสนับสนุนในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายเท่านั้น ควรกำหนดให้พนักงานอัยการเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการทำสำนวนชันสูตรพลิกศพและสำนวนคดีวิสามัญฆาตกรรม และกำหนดให้เจ้าพนักงานปกครองท้องที่ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เข้าร่วมในการชันสูตรพลิกศพ ทั้งนี้เพื่อให้การควบคุมตรวจสอบการชันสูตรพลิกศพในคดีวิสามัญฆาตกรรมมีประสิทธิภาพและอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชนได้อย่างแท้จริง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11236
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.05 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons