Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11258
Title: การส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
Other Titles: Extension of practices according to sustainable agriculture for farmers in Bang Pa-in District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province
Authors: เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดวงพร นันทิกะ, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: การส่งเสริมการเกษตร -- ไทย -- พระนครศรีอยุธยา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร -- วิทยานิพนธ์
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะทั่วไปของเกษตรกร 2) ลักษณะการทำการเกษตรของเกษตรกร 3) การปฏิบัติตามหลักเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะการปฏิบัติตามหลักเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรและ 5) การได้รับและความต้องการการส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักเกษตรกรรมยั่งยืนของเกษตรกรประชากรที่ศึกษา คือเกษตรกรในอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ปี 2561-2563 จำนวน 1,726ราย กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเนที่ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 183 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและข้อเสนอแนะใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 51.50 ปี มีสถานภาพสมรสจบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีอาชีพหลักเป็นเกษตรกร จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.41 คน จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 3.17 คน มีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรจากคลองชลประทาน ได้รับข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีการเกษตรจากหน่วยงานกรมส่งเสริมการเกษตร นักวิชาการเกษตร/เกษตรตำบล โทรทัศน์ และการประชุม/สัมมนาไม่มีตำแหน่งทางสังคม ไม่เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรใช้เงินทุนของตนเอง มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 4.51 ไร่ มีรายได้จากภาคการเกษตรเฉลี่ย 148,950 บาทต่อปี และมีรายจ่ายจากภาคการเกษตร เฉลี่ย 76,625.96 บาทต่อปี 2) มีการดำเนินกิจกรรมการเกษตรทุกวัน ปลูกข้าวและไม้ผล เลี้ยงสัตว์ปีก เพาะเลียงสัตว์น้ำในบ่อ และปลูกป่าประเภทไม้กินได้ 3) ระดับการปฏิบัติมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดการปลูกพืชผสมผสานต่างชนิดกัน ให้ความเคารพสิทธิมนุษย์และสัตว์ การไม่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชมีต้นไม้และพืชผลหลากหลายชั้นความสูงความเป็นอยู่ต้องมีปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่พอเพียง 4) มีปัญหาในการปฏิบัติระดับมากที่สุด โรคแมลงศัตรูพืช สภาพภูมิอากาศ แหล่งน้ำ ราคาผลผลิต พื้นที่ ปริมาณของผลผลิต และ 5) เกษตรกรได้รับความรู้และการส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักเกษตรกรรมยั่งยืนในระดับน้อยแต่มีความต้องการในระดับมากที่สุด คือ หลักเกษตรอินทรีย์ แนวทางการส่งเสริมโดยวิธีการสาธิต ใช้สื่อบุคคล สื่อคู่มือ และสื่ออินเตอร์เน็ต ให้แก่เกษตรกรนำหลักเกษตรกรรมยั่งยืนไปปฏิบัติ
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11258
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
169162.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.98 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons