Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1127
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอดิศักดิ์ สัตย์ธรรมth_TH
dc.contributor.authorอภิชัย คุณีพงษ์, 2512-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-27T04:06:51Z-
dc.date.available2022-08-27T04:06:51Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1127-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การรวมกลุ่มของประชาชนในรูปของชมรมสร้างสุขภาพ ด้านการจัดตั้งและพัฒนาการ โครงสร้างการบริหารจัดการ แผนงานและกิจกรรม เครือข่ายและรูปแบบความสัมพันธ์ และผลงานของชมรมสร้างสุขภาพ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสําเร็จและข้อจํากัดที่มีผลต่อการพัฒนาของ ชมรมสร้างสุขภาพ และ (3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของชมรมสร้างสุขภาพในจังหวัดชัยนาท การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการศึกษาชมรมสร้างสุขภาพ โดยเลือกกรณีศึกษาชมรมสร้างสุขภาพระดับ 1 ได้แก่ ชมรมสร้างสุขภาพบ้านบางท่าช้าง และระดับ 3 ได้แก่ ชมรมสร้างสุขภาพ บ้านรากแก้ว ในจังหวัดชัยนาท การศึกษาใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ในกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานของชมรมสร้างสุขภาพ ในระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม 2547 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ และการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัย พบว่า (1) ชมรมสร้างสุขภาพ มีการก่อตั้งเริ่มต้นจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งตามนโยบายการสร้างสุขภาพทั่วไทย จากครอบครัว ขยายไปสู่เพื่อนบ้านและชุมชน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแต่ไม่เป็นทางการ มีการจัดกิจกรรมเน้นการออกกำลังกาย และมีการจัดการสอนดนตรีไทยในกลุ่มเด็กและเยาวชน ด้านเครือข่ายและรูปแบบความสัมพันธ์มีลักษณะเป็นเครือญาติในชุมชน และมีกลุ่ม อสม. เป็นหลัก โดยชมรมสร้างสุขภาพระดับ 3 จะมีการดำเนินกิจกรรมที่หลากหลาย และมีความต่อเนื่องมากกว่าชมรมสร้างสุขภาพระดับ 1 อย่างเห็นได้ชัด และมีสมาชิกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (2) ในส่วนของปัจจัยแห่งความสําเร็จ ได้แก่ ผู้ที่เข้มแข็ง การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก การใช้ทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชน และการใช้กลวิธีการถ่ายทอดแบบพี่สอนน้องโดยไม่มีกฎเกณฑ์ ปลูกฝังตั้งแต่เด็ก ในด้านข้อจํากัดในการพัฒนาชมรมฯ ได้แก่ การขาดการมีส่วนร่วมของสมาชิก การขาดการประสานงาน การสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การกำหนดรูปแบบที่ตายตัว และไม่มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ และ (3) ในส่วนของปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ แกนนำ และคณะกรรมการชมรมสร้างสุขภาพ ยังขาดความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการบริหารจัดการชมรมฯ ความขัดแย้งในชุมชน การประชาสัมพันธ์ผลงานของชมรมสร้างสุขภาพไม่ต่อเนื่อง และการพึ่งพาทรัพยากรจากภายนอก และมีข้อเสนอแนะในการพัฒนาชมรมสร้างสุขภาพ ว่าควรมีศึกษาบริบทของชุมชน ทุนทางสังคม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำมาใช้ในการกำหนดรูปแบบและดำเนินกิจกรรมของชมรมสร้างสุขภาพให้ต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไปth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2004.256-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectชมรมสร้างสุขภาพth_TH
dc.subjectสุขภาพth_TH
dc.titleกระบวนการพัฒนาชมรมสร้างสุขภาพของจังหวัดชัยนาทกรณีศึกษาชมรมสร้างสุขภาพบ้านรากแก้วและชมรมสร้างสุขภาพบ้านบางท่าช้างth_TH
dc.title.alternativeThe development process of health promoting club in Chainat province : a case study of Ban Rak Kaew health promoting club and Ban Bang Ta Chang health promoting clubth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2004.256-
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารสาธารณสุข)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis objectives of this research were; (1) to study the situation of people association in the form of health promoting club on the aspects of formulation and development, administrative structure, action plans and activities, networking and relationship pattern, and the outcomes of the clubs, (2) to examine factors of success and constraints affecting the development of the clubs, and (3) to observe the problems and obstacles in the clubs' operation. The qualitative research design was applied to the study of the health promoting clubs. The primary and tertiary level health promoting clubs selected for the study were Ban Bang Ta Chang health promoting club and Ban Rak Kaew health promoting club in Chainat province, respectively. The study was carried out by means of in-depth interview among key informants concerned with the operation of the clubs during May to October 2004. The tools were interview and observed forms which were pre-examined for their quality by experts in qualitative research. The data was analyzed using content analysis and analytic induction techniques. The results showed that: (1) The health promoting clubs were established initially by health personnel to follow the nation wide health promotion policy. The clubs' development began at a family and expanded to neighbor and to community. The clubs’ committees were unofficially appointed. The activities of the clubs emphasized on exercising and teaching Thai traditional music to the youth group. The networking and relationship pattern were characterized by community kinship and health volunteer groups. The tertiary level health promoting club had more explicit variety of and continuous activities than the primary level one. The tertiary health promoting club also had grown in its member continuously; (2) The factors of success of the health promoting clubs were leadership, external supports, use of local wisdom, and an informal teaching among brotherhoods from early childhood. The limitations of the health promoting club were lack of participation members, lack of work co-ordination, insufficient supports by concerned agencies, inflexibility of the activities, and lack of use of local wisdom; (3) The problems and obstacles were lack of know-hows, skills and experiences in club management, conflicts in their communities, discontinuity of public relations, and dependency on external resources. There were recommendation towards an improvement of the clubs as to study context of a community, social capital, its local wisdom to be used in the setting and planning of continuous and sustainable activities of a health promoting cluben_US
dc.contributor.coadvisorนิตยา เพ็ญศิรินภาth_TH
Appears in Collections:Health-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
86591.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.97 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons