กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1127
ชื่อเรื่อง: กระบวนการพัฒนาชมรมสร้างสุขภาพของจังหวัดชัยนาทกรณีศึกษาชมรมสร้างสุขภาพบ้านรากแก้วและชมรมสร้างสุขภาพบ้านบางท่าช้าง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development process of health promoting club in Chainat province : a case study of Ban Rak Kaew health promoting club and Ban Bang Ta Chang health promoting club
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อดิศักดิ์ สัตย์ธรรม
อภิชัย คุณีพงษ์, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นิตยา เพ็ญศิรินภา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสาธารณสุขศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ชมรมสร้างสุขภาพ
สุขภาพ
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การรวมกลุ่มของประชาชนในรูปของชมรมสร้างสุขภาพ ด้านการจัดตั้งและพัฒนาการ โครงสร้างการบริหารจัดการ แผนงานและกิจกรรม เครือข่ายและรูปแบบความสัมพันธ์ และผลงานของชมรมสร้างสุขภาพ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสําเร็จและข้อจํากัดที่มีผลต่อการพัฒนาของ ชมรมสร้างสุขภาพ และ (3) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานของชมรมสร้างสุขภาพในจังหวัดชัยนาท การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการศึกษาชมรมสร้างสุขภาพ โดยเลือกกรณีศึกษาชมรมสร้างสุขภาพระดับ 1 ได้แก่ ชมรมสร้างสุขภาพบ้านบางท่าช้าง และระดับ 3 ได้แก่ ชมรมสร้างสุขภาพ บ้านรากแก้ว ในจังหวัดชัยนาท การศึกษาใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ในกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานของชมรมสร้างสุขภาพ ในระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนตุลาคม 2547 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์ และการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการวิจัย พบว่า (1) ชมรมสร้างสุขภาพ มีการก่อตั้งเริ่มต้นจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งตามนโยบายการสร้างสุขภาพทั่วไทย จากครอบครัว ขยายไปสู่เพื่อนบ้านและชุมชน มีการแต่งตั้งคณะกรรมการแต่ไม่เป็นทางการ มีการจัดกิจกรรมเน้นการออกกำลังกาย และมีการจัดการสอนดนตรีไทยในกลุ่มเด็กและเยาวชน ด้านเครือข่ายและรูปแบบความสัมพันธ์มีลักษณะเป็นเครือญาติในชุมชน และมีกลุ่ม อสม. เป็นหลัก โดยชมรมสร้างสุขภาพระดับ 3 จะมีการดำเนินกิจกรรมที่หลากหลาย และมีความต่อเนื่องมากกว่าชมรมสร้างสุขภาพระดับ 1 อย่างเห็นได้ชัด และมีสมาชิกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (2) ในส่วนของปัจจัยแห่งความสําเร็จ ได้แก่ ผู้ที่เข้มแข็ง การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก การใช้ทุนทางสังคมที่มีอยู่ในชุมชน และการใช้กลวิธีการถ่ายทอดแบบพี่สอนน้องโดยไม่มีกฎเกณฑ์ ปลูกฝังตั้งแต่เด็ก ในด้านข้อจํากัดในการพัฒนาชมรมฯ ได้แก่ การขาดการมีส่วนร่วมของสมาชิก การขาดการประสานงาน การสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การกำหนดรูปแบบที่ตายตัว และไม่มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ และ (3) ในส่วนของปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ แกนนำ และคณะกรรมการชมรมสร้างสุขภาพ ยังขาดความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในการบริหารจัดการชมรมฯ ความขัดแย้งในชุมชน การประชาสัมพันธ์ผลงานของชมรมสร้างสุขภาพไม่ต่อเนื่อง และการพึ่งพาทรัพยากรจากภายนอก และมีข้อเสนอแนะในการพัฒนาชมรมสร้างสุขภาพ ว่าควรมีศึกษาบริบทของชุมชน ทุนทางสังคม และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อนำมาใช้ในการกำหนดรูปแบบและดำเนินกิจกรรมของชมรมสร้างสุขภาพให้ต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(บริหารสาธารณสุข))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1127
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
86591.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons