กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11280
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้หนังสือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง คำควบกลํ้า ที่มีต่อความสามารถ ในการอ่านคำควบกลํ้าวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เครือข่ายโรงเรียนพระแม่ย่า จังหวัดสุโขทัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of using an electronic book on the topic of Words Starting with Two Consonants on the ability to read Thai Words Starting with Two Consonants of Grade 3 Students at Phra Mae Ya School Network in Sukhothai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวรรณี ยหะกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธัญญารัตน์ จันทร์เสม, 2536-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน.
ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องคำควบกล้ำสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เครือข่ายโรงเรียนพระแม่ย่า จังหวัดสุโขทัย ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ (2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านคำควบกล้ำระหว่างก่อนและหลังเรียนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง คำควบกล้ำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เครือข่ายโรงเรียนพระแม่ย่า จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เครือข่ายโรงเรียนพระแม่ย่า จังหวัดสุโขทัย 1 ห้องเรียน นักเรียน 26 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ (1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง คำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 และ (2) แบบวัดความสามารถในการอ่านคำควบกล้ำ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง คำควบกล้ำ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 88.50/85.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และ (2) ความสามารถในการอ่านคำควบกล้ำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11280
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
168585.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons