กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11281
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการธำรงรักษาครูของโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 7 ภาคใต้ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines for teacher maintenance in Sueksa Songkhro Schools under the Office of Special Education Bureau, Grop 7, Southen Region |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กุลชลี จงเจริญ ธีรนัย แซ่โหงว, 2532- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ครู การธำรงรักษาพนักงาน การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการธำรงรักษาครูของโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 7 ภาคใต้ และ (2) ศึกษาแนวทางการธำรงรักษาครูของโรงเรียนการศึกษา สงเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 7 ภาคใต้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ และโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 7 ภาคใต้ ปีการศึกษา 2562 จานวน 205 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นและการสุ่มอย่างง่าย และผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .98 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการธำรงรักษาครู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านผู้บังคับบัญชา ด้านส่วนตัว ด้านงานที่รับผิดชอบ ด้านผู้ร่วมงาน และด้านองค์การ ตามลำดับ และ (2) แนวทางการธำรงรักษาครู พบว่า (2.1) ด้านองค์การ ควรได้รับการพัฒนาสภาพแวดล้อมในการทำงาน ให้สามารถใช้งานได้อยู่เสมอ ปลอดภัย และเพียงพอต่อความต้องการ และสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียน รวมถึงการพัฒนาสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ ควรมีการยกย่องเชิดชู การจัดบ้านพักในโรงเรียน การเลี้ยงสังสรรค์ การได้รับค่าล่วงเวลาอย่างเหมาะสม (2.2) ด้านผู้บังคับบัญชา ควรได้รับการพัฒนาภาวะผู้นา โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน การสื่อสารกับครูอย่างตรงไปตรงมา ความเข้าใจบริบทของโรงเรียน การลงมือปฏิบัติด้วยตนเองให้ครูเห็นเป็นแบบอย่าง ความเข้าใจการจัดการศึกษาลักษณะการศึกษาสงเคราะห์ และการเสริมสร้างพลังอำนาจแก่บุคลากร (2.3) ด้านงานที่รับผิดชอบ ควรได้รับการพัฒนาในด้านการมอบหมายงานให้เป็นไปตามศักยภาพของครู ควรมีการเกลี่ยภาระงานของครู และความชัดเจนในเรื่องลักษณะงานที่ต้องปฏิบัติ และสามารถประเมินผลการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสมและยุติธรรม การพัฒนาความสมดุลระหว่างงานและชีวิต และการพัฒนาโอกาสความก้าวหน้าในงาน และ (2.4) ด้านผู้ร่วมงาน ควรได้รับการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล โดยผู้บริหารโรงเรียนควรจัดกิจกรรมละลายพฤติกรรมของครู และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูให้มากยิ่งขึ้น |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11281 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
162015.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 20.49 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License