กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11301
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorพัชรวดี วงศ์ชู, 2535--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2024-01-26T07:04:24Z-
dc.date.available2024-01-26T07:04:24Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11301-
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีและปัจจัยที่เกี่ยวกับสาเหตุการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน เพื่อศึกษาความรับผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน ตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย และต่างประเทศตลอดจนอำนาจของศาลยุติธรรมในการลงโทษเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดอาญา และเพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการลงโทษเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาให้สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสารจากหนังสือ ตำรา บทความ คำพิพากษาศาลฎีกาและเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 มาตรา 75 และมาตรา 76 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการสำหรับเด็ก และโทษทางอาญาของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดโดยทั้งสามมาตราดังกล่าว กำหนดให้ศาลพิจารณาวิธีการสำหรับเด็ก หรือโทษของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด โดยกำหนดยกเว้นโทษหรือลดโทษ และกำหนดให้ศาลใช้ดุลพินิจที่จะลงโทบหรือไม่ลงโทษก็ได้ แต่เนื่องจากในปัจจุบันเด็กและเยาวชนมีพัฒนาการ และความเจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเร็วกว่าในอดีต จึงมีกรณีที่เด็กและเยาวชนกระทำความผิดที่มีอัตราโทษสูงมากขึ้น การที่กฎหมายให้ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาลงโทษโดยไม่พิจารณาถึงอัตราโทษความผิดของการกระทำจึงเป็นการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนมากเกินควร และเนื่องจากการใช้ดุลพินิจในการลงโทษของศาลเป็นการแตกต่างกัน อาจทำให้ไม่ได้รับความยุติธรรม ซึ่งการจะลงโทษและการจำกัดการใช้ดุลพินิจของศาลนั้น จะต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดแจ้ง เพื่อให้นำมาใช้ได้อย่างเป็นธรรมจึงจะมีการลงโทษเด็กและเยาวชนแบบเดียวกับผู้ใหญ่ได้ จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 มาตรา 75 และมาตรา 76 ให้มีการพิจารณาอัตราโทษ และจำกัดคุลพินิจของศาลโดยกำหนดให้ศาลต้องใช้การลงโทษตามวิธีการลงโทษแบบผู้ใหญ่ในกรณีที่เด็กและเยาวชนกระทำความผิดที่มีอัตราโทษสูงth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectความผิดในคดีเด็กและเยาวชนth_TH
dc.subjectการลงโทษth_TH
dc.subjectความรับผิดทางอาญาth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.titleปัญหาในการลงโทษทางอาญาเกี่ยวกับการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนth_TH
dc.title.alternativeLegal problem on criminal punishment regarding juvenile delinquencyen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent aims to examine the concepts, theories and factors related to the cause of juvenile delinquency; study the criminal liability of children and juveniles in accordance with the Criminal Code of Thailand and other foreign countries as well as the judicial power of the Court of Justice in order to punish the juvenile delinquents; and propose the solutions to the problems related to the punishment of juvenile offenders so that the law would be more effective. This independent legal research is conducted by using qualitative research approach which conducted from books, articles, Supreme Court judgments and other relevant documents in Thailand foreign languages. The study shows that according to Section 74, Section 75 and Section 76 of the Criminal Code of Thailand (which are the provisions concerning on the imposition of the measure for children offenders and the criminal punishment of juvenile offenders), This also gives rise to the court to use its discretion whether to determine the liability punish them or not. However, since physical and mental growth of children and juveniles nowadays are developed faster than children and juveniles in the past, there are many cases where young offenders commit more serious crimes. Thus, using merely court’s discretion to decide the punishment without considering the penalty rate of the offense can be seen as over-protection for children. Since the court’s discretion to punish is different, justice may not be provided. Therefore, sentencing and restriction of the court’s discretion shall be explicitly in the form of written law so that such sentencing and restriction shall be employed fairly. As a result, children and juveniles can be punished in the same way as adults. Consequently, it is advisable that Section 74, Section 75 and Section 76 of the Criminal Code should be amended as to consider the penalty rate of the offense when deciding the punishment. Also, in case where young offenders commit serious offense, the court should impose punishment to them in the same way as to the adultsen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons