กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11301
ชื่อเรื่อง: ปัญหาในการลงโทษทางอาญาเกี่ยวกับการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal problem on criminal punishment regarding juvenile delinquency
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลาวัลย์ หอนพรัตน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พัชรวดี วงศ์ชู, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: ความผิดในคดีเด็กและเยาวชน
การลงโทษ
ความรับผิดทางอาญา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีและปัจจัยที่เกี่ยวกับสาเหตุการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน เพื่อศึกษาความรับผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชน ตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย และต่างประเทศตลอดจนอำนาจของศาลยุติธรรมในการลงโทษเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดอาญา และเพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการลงโทษเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดทางอาญาให้สามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสารจากหนังสือ ตำรา บทความ คำพิพากษาศาลฎีกาและเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 มาตรา 75 และมาตรา 76 ซึ่งเป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดวิธีการสำหรับเด็ก และโทษทางอาญาของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิดโดยทั้งสามมาตราดังกล่าว กำหนดให้ศาลพิจารณาวิธีการสำหรับเด็ก หรือโทษของเด็กและเยาวชนที่กระทำความผิด โดยกำหนดยกเว้นโทษหรือลดโทษ และกำหนดให้ศาลใช้ดุลพินิจที่จะลงโทบหรือไม่ลงโทษก็ได้ แต่เนื่องจากในปัจจุบันเด็กและเยาวชนมีพัฒนาการ และความเจริญเติบโตทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจเร็วกว่าในอดีต จึงมีกรณีที่เด็กและเยาวชนกระทำความผิดที่มีอัตราโทษสูงมากขึ้น การที่กฎหมายให้ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาลงโทษโดยไม่พิจารณาถึงอัตราโทษความผิดของการกระทำจึงเป็นการปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนมากเกินควร และเนื่องจากการใช้ดุลพินิจในการลงโทษของศาลเป็นการแตกต่างกัน อาจทำให้ไม่ได้รับความยุติธรรม ซึ่งการจะลงโทษและการจำกัดการใช้ดุลพินิจของศาลนั้น จะต้องมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดแจ้ง เพื่อให้นำมาใช้ได้อย่างเป็นธรรมจึงจะมีการลงโทษเด็กและเยาวชนแบบเดียวกับผู้ใหญ่ได้ จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 มาตรา 75 และมาตรา 76 ให้มีการพิจารณาอัตราโทษ และจำกัดคุลพินิจของศาลโดยกำหนดให้ศาลต้องใช้การลงโทษตามวิธีการลงโทษแบบผู้ใหญ่ในกรณีที่เด็กและเยาวชนกระทำความผิดที่มีอัตราโทษสูง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11301
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.22 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons