กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11303
ชื่อเรื่อง: คู่มือการป้องกันการปนเปื้อนสารตะกั่วในบ้านของเด็กเล็กที่มีผู้ปกครองประกอบอาชีพสัมผัสสารตะกั่ว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Manual on prevention of lead contamination at home among small children living with parents with lead-exposure occupations
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศริศักดิ์ สุนทรไชย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศิริพร พรพิรุณโรจน์, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
คำสำคัญ: ตะกั่วในร่างกาย--การป้องกัน
ตะกั่ว--ผลกระทบทางสรีรวิทยา
การศึกษาอิสระ--การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: สารตะกั่วเป็นสารเคมีอันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็กอย่างรุนแรง หากเด็กได้รับสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายจะส่งผลโดยตรงต่อระบบประสาท ซึ่งเด็กสามารถรับสัมผัสสารตะกั่วได้จากทางปากและการหายใจ รวมถึงเด็กได้รับสัมผัสจากผู้ปกครองที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสารตะกั่ว ทั้งนี้หากผู้ปกครองไม่มีวิธีการป้องกันที่ดีในการสัมผัสกับสารตะกั่ว อาจจะส่งผลให้ผู้ปกครองนำสารตะกั่วมาปนเปื้อนในเด็ก การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำคู่มือการป้องกันการปนเปื้อนสารตะกั่วในบ้านของเด็กเล็กที่มีผู้ปกครองประกอบอาชีพสัมผัสสารตะกั่ว คู่มือการป้องกันการปนเปื้อนสารตะกั่วในบ้านของเด็กเล็กที่มีผู้ปกครองประกอบอาชีพสัมผัสสารตะกั่ว ได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสารตะกั่วจากหนังสือ คู่มือ แนวทางการป้องกัน เอกสาร และฐานข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต หลังจากนั้นจึงประเมินการใช้งานคู่มือโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และผู้ใช้งาน 3 คน แล้วปรับปรุงตามข้อเสนอแนะเพื่อความสมบูรณ์ คู่มือฉบับนี้ประกอบด้วย 12 หัวข้อ ได้แก่ (1) ข้อมูลทั่วไปเรื่องสารตะกั่ว (2) กิจการที่มีการใช้สารตะกั่ว (3) ความเสี่ยงของกิจการแต่ละประเภท (4) เด็กมีโอกาสได้รับสารตะกั่วจากแหล่งใดได้บ้าง (5) เด็กสัมผัสสารตะกั่วจากผู้ปกครองได้อย่างไร (6) สารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายช่องทางไหนบ้าง (7) ผลกระทบของตะกั่วต่อสุขภาพ (8) ทำไมเด็กจึงมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ใหญ่ (9) เราจะทราบระดับความเสี่ยงการสัมผัสสารตะกั่วในเด็กได้อย่างไร (10) คำแนะนำสำหรับผู้ปกครองที่ทำงานสัมผัสสารตะกั่วภายนอกบ้าน (11) คำแนะนำสำหรับผู้ปกครองที่ทำงานสัมผัสสารตะกั่วภายในบ้าน และ(12) คำแนะนำทั่วไปเพื่อลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารตะกั่วในเด็ก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11303
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons