Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11304
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสราวุธ สุธรรมาสาth_TH
dc.contributor.authorเสถียร ฉันทะ, 2512-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.date.accessioned2024-01-26T07:28:48Z-
dc.date.available2024-01-26T07:28:48Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11304en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพและอธิบายความเสี่ยงทางสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง และ (2) ศึกษาพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากความเสี่ยงทางสุขภาพจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียงแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบระยะเวลาสั้นเก็บข้อมูลครั้งเดียว ประชากรคือบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียงแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย คำนวณกลุ่มตัวอย่างได้ 94 ตัวอย่าง เครื่องมือเก็บข้อมูลคือแบบประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล (ฉบับปรับปรุงแก้ไข พ.ศ.2554) ของกระทรวงสาธารณสุข และแบบสอบถามการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากการทำงานของบุคลากร และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า (1) สิ่งคุกคามสุขภาพทางกายภาพ ได้แก่ ระบบไฟฟ้า ระบบระบายและปรับอากาศ ระบบแสงส่องสว่าง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สถานที่ทำงาน ระบบก๊าซทางการแพทย์ ระบบก๊าซไวไฟ ความร้อน และอันตรายจากรังสี ด้านชีวภาพ ได้แก่ เชื้อโรค และการสัมผัสสารคัดหลั่ง ด้านเคมี ได้แก่ สารเคมีทางการแพทย์ สารเคมีทำความสะอาด สารหล่อลื่นและเชื้อเพลิง ด้านการยศาสตร์ ได้แก่ อาการปวดเมื่อยร่างกาย ปวดข้อจากการทำงาน ด้านจิตวิทยาสังคมได้แก่ ความเครียด และการถูกคุกคามจากผู้มารับบริการ และด้านอุบัติเหตุจากการทำงาน ได้แก่ อุบัติเหตุจากเข็ม ของมีคม ลื่นหกล้ม สัมผัสความร้อน การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากสิ่งคุกคามทางกายภาพมีความเสี่ยงสูง คือแผนกซักฟอก/ซัพพลาย เอกซเรย์ โรงครัวและยานพาหนะ ทางด้านชีวภาพระดับความเสี่ยงสูงคือแผนกผู้ป่วยนอก/ห้องตรวจโรค อุบัติเหตุฉุกเฉิน ผู้ป่วยใน ห้องคลอด/ห้องผ่าตัด ห้องชันสูตร ทันตกรรม ห้องเอกซเรย์ และกลุ่มงานเวชกรรมครอบครัวและชุมชน ด้านเคมีส่วนใหญ่อยู่ในระดับความเสี่ยงปานกลาง ยกเว้นแผนกบริหาร ประกันสุขภาพและรักษาความปลอดภัยอยู่ในระดับความเสี่ยงเล็กน้อย ทางด้านการยศาสตร์ทุกแผนกอยู่ในระดับความเสี่ยงปานกลาง ทางด้านจิตวิทยาสังคมส่วนใหญ่อยู่ในระดับความเสี่ยงปานกลาง และทางด้านการเกิดอุบัติเหตุระดับความเสี่ยงสูงคือแผนกผู้ป่วยนอก/ห้องตรวจ โรคอุบัติเหตุฉุกเฉิน ห้องคลอด/ห้องผ่าตัด ผู้ป่วยใน ซักฟอก/ซัพพลาย ห้องชันสูตร ทันตกรรม ห้องเอกซเรย์ โรงครัว ซ่อมบำรุง ยานพาหนะ และกลุ่มงานเวชกรรมครอบครัวและชุมชน และ (2) การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากการทำงานของบุคลากรพบว่าข้อมูลความเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงานเกิดขึ้นจากทุกด้าน ทั้งด้านกายภาพ ชีวภาพ เคมี การยศาสตร์ จิตวิทยาสังคมและอุบัติเหตุ ส่วนพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากความเสี่ยงทางสุขภาพขณะที่ปฏิบัติงานพบว่าค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติบ่อยครั้ง (x̄ = 4.28)th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)th_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectบุคลากรโรงพยาบาล--การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ--ไทย--เชียงรายth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมth_TH
dc.titleการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงรายth_TH
dc.title.alternativeHealth risk assessment of health workers at a 30-bed community hospital in Chiang Rai Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were : (1) to assess health risks and explain the health risks in health workers; and (2) to study self-protection behaviors from health risks among health workers at a 30-bed community hospital in Chiang Rai province. This descriptive, cross-sectional study was conducted in a sample of 94 staff (as per calculated sample size) selected from all personnel of a 30-bed community hospital in Chiang Rai province. Data were collected using the form for health risk assessment at work in hospital health workers (revised 2011) of the Ministry of Public Health and a questionnaire on health risk assessment, and then analyzed with descriptive statistics. The results show at that: (1) physical health hazards include electrical systems, ventilation and air conditioning systems, lighting system, information technology systems, medical gas systems, flammable gas systems, and heat and radiation systems; biological hazards include pathogens and secretions; chemical hazards include medical chemicals, cleaning chemicals, lubricants and fuels; ergonomic hazards include work-related musculoskeletal pains; psycho-social hazards include stress and violence from clients; and work-related accidents include injuries from needlesticks, sharp objects, falling and heat. As per health risk assessments, high-risk physical hazards are noted at the laundering/supplies, X-ray, nutrition and vehicle sections; high-risk biological hazards at the OPD and examination rooms, emergency room, inpatient wards, labor room, operating rooms, laboratory, dental clinic, X-ray room, and family/community medicine group; medium-risk chemical hazards at most sections, except for low risks at the administration, health insurance and security sections; medium-risk ergonomic hazards at all sections; medium-risk psycho-social hazards at most sections; and high-risk accidents at the OPD and examination rooms, emergency room, labor room, operating rooms, inpatient wards, laundering/supplies section, laboratory, dental clinic, X-ray room, kitchen, maintenance section, vehicle section, and family/community medicine group; and (2) as per health risk assessments in health workers, show that work-related illnesses occur from all physical, biological, chemical, ergonomic, psycho-social, and accidental hazards. moreove, the overall self-protection behaviors from health risks while working, operational staff on average often practise such behaviors ( X = 4.28).en_US
Appears in Collections:Health-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.3 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons