Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11304
Title: | การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย |
Other Titles: | Health risk assessment of health workers at a 30-bed community hospital in Chiang Rai Province |
Authors: | สราวุธ สุธรรมาสา เสถียร ฉันทะ, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ |
Keywords: | บุคลากรโรงพยาบาล--การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ--ไทย--เชียงราย การศึกษาอิสระ--การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพและอธิบายความเสี่ยงทางสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง และ (2) ศึกษาพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากความเสี่ยงทางสุขภาพจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียงแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบระยะเวลาสั้นเก็บข้อมูลครั้งเดียว ประชากรคือบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียงแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย คำนวณกลุ่มตัวอย่างได้ 94 ตัวอย่าง เครื่องมือเก็บข้อมูลคือแบบประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาล (ฉบับปรับปรุงแก้ไข พ.ศ.2554) ของกระทรวงสาธารณสุข และแบบสอบถามการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากการทำงานของบุคลากร และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า (1) สิ่งคุกคามสุขภาพทางกายภาพ ได้แก่ ระบบไฟฟ้า ระบบระบายและปรับอากาศ ระบบแสงส่องสว่าง ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ สถานที่ทำงาน ระบบก๊าซทางการแพทย์ ระบบก๊าซไวไฟ ความร้อน และอันตรายจากรังสี ด้านชีวภาพ ได้แก่ เชื้อโรค และการสัมผัสสารคัดหลั่ง ด้านเคมี ได้แก่ สารเคมีทางการแพทย์ สารเคมีทำความสะอาด สารหล่อลื่นและเชื้อเพลิง ด้านการยศาสตร์ ได้แก่ อาการปวดเมื่อยร่างกาย ปวดข้อจากการทำงาน ด้านจิตวิทยาสังคมได้แก่ ความเครียด และการถูกคุกคามจากผู้มารับบริการ และด้านอุบัติเหตุจากการทำงาน ได้แก่ อุบัติเหตุจากเข็ม ของมีคม ลื่นหกล้ม สัมผัสความร้อน การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากสิ่งคุกคามทางกายภาพมีความเสี่ยงสูง คือแผนกซักฟอก/ซัพพลาย เอกซเรย์ โรงครัวและยานพาหนะ ทางด้านชีวภาพระดับความเสี่ยงสูงคือแผนกผู้ป่วยนอก/ห้องตรวจโรค อุบัติเหตุฉุกเฉิน ผู้ป่วยใน ห้องคลอด/ห้องผ่าตัด ห้องชันสูตร ทันตกรรม ห้องเอกซเรย์ และกลุ่มงานเวชกรรมครอบครัวและชุมชน ด้านเคมีส่วนใหญ่อยู่ในระดับความเสี่ยงปานกลาง ยกเว้นแผนกบริหาร ประกันสุขภาพและรักษาความปลอดภัยอยู่ในระดับความเสี่ยงเล็กน้อย ทางด้านการยศาสตร์ทุกแผนกอยู่ในระดับความเสี่ยงปานกลาง ทางด้านจิตวิทยาสังคมส่วนใหญ่อยู่ในระดับความเสี่ยงปานกลาง และทางด้านการเกิดอุบัติเหตุระดับความเสี่ยงสูงคือแผนกผู้ป่วยนอก/ห้องตรวจ โรคอุบัติเหตุฉุกเฉิน ห้องคลอด/ห้องผ่าตัด ผู้ป่วยใน ซักฟอก/ซัพพลาย ห้องชันสูตร ทันตกรรม ห้องเอกซเรย์ โรงครัว ซ่อมบำรุง ยานพาหนะ และกลุ่มงานเวชกรรมครอบครัวและชุมชน และ (2) การประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพจากการทำงานของบุคลากรพบว่าข้อมูลความเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงานเกิดขึ้นจากทุกด้าน ทั้งด้านกายภาพ ชีวภาพ เคมี การยศาสตร์ จิตวิทยาสังคมและอุบัติเหตุ ส่วนพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากความเสี่ยงทางสุขภาพขณะที่ปฏิบัติงานพบว่าค่าเฉลี่ยภาพรวมอยู่ในระดับปฏิบัติบ่อยครั้ง (x̄ = 4.28) |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11304 |
Appears in Collections: | Health-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.3 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License