Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11306
Title: มาตรการกำกับดูแลผู้ประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551
Other Titles: Business operator supervisory measure under the film and video Act B.E. 2551 (2008)
Authors: ภาณินี กิจพ่อค้า
คมกริช ทรงแก้ว, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551
อุตสาหกรรมภาพยนตร์--ไทย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน --การศึกษาเฉพาะกรณี
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 และขอบเขตของการบังคับใช้ของพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 (2) ศึกษาวิวัฒนาการ ทฤษฎี ความเป็นมาของการควบคุมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (3) ศึกษาวิเคราะห์ความชอบด้วยกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 เป็นการจำกัดสิทธิเกินสมควรหรือไม่ และ (4) เพื่อหาข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายต่อไป การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสารจากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องจากตำรากฎหมาย บทความทางวิชาการ งานวิจัยและผลงานทางวิชาการอื่นๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ โดยนำมาวิเคราะห์หาข้อสรุปเพื่อให้ได้ทราบถึงแนวความคิด ทฤษฎี หลักเกณฑ์รวมถึงสภาพปัญหาเกี่ยวกับมาตรการกำกับดูแลผู้ประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 เพื่อวิเคราะห์หามาตรการและวิธีการที่เหมาะสมในการดำเนินการกับปัญหาที่เกิดขึ้นผลการศึกษาพบว่า (1) พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เพื่อคุ้มครองผู้เป็นเจ้าของธุรกิจภาพยนตร์และวีดิทัศน์ที่ออกเผยแพร่เนื้อหาสาระต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม มีการควบคุมระดับอายุของเด็กและเยาวชนในการเข้าถึงสื่อ รวมถึงการนำออกให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายได้ ซึ่งต้องผ่านขั้นตอนกระบวนการในการตรวจสอบภาพยนตร์ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้เสียก่อน โดยได้กำหนดกิจการที่อนุญาตไว้ 4 ประเภทดังนี้ 1) การประกอบกิจการโรงหนัง 2) การประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายภาพยนตร์ 3) การประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายวีดิทัศน์ 4) การประกอบกิจการร้านวีดิทัศน์ ซึ่งหากร้านใดมีใบอนุญาตเป็นสถานบริการแล้ว ไม่ต้องมาขอใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติฉบับนี้อีก และหากมีการฝ่าฝืนจะได้รับโทษที่สูงสุดตั้งแต่ 200,000-1,000,000 บาท และการปรับรายวันตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนอีกด้วย (2) สำหรับการบังคับใช้พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ซึ่งได้มีการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขมากจากต้นแบบความคิดของการควบคุมการผลิตและการเผยแพร่ภาพยนตร์ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์ พุทธศักราช 2473 โดยภาพยนตร์ทุกเรื่องจะได้รับการเซ็นเซอร์จากเจ้าพนักงานตรวจพิจารณาภาพยนตร์ก่อนอนุญาตให้นำออกฉาย (3) การจำกัดเสรีภาพในการสร้างสรรค์งานภาพยนตร์ และการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อภาพยนตร์นั้นเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชนชนเกินสมควร และปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ซึ่งมีเนื้อหามุ่งคุ้มครองผู้ผลิตผลงานภาพยนตร์และวีดิทัศน์จนทำให้ก่อให้เกิดปัญหาและอุปสรรค สำหรับในทางกฎหมายการบังคับใช้ เพื่อคุ้มครองและควบคุมผลงานอันมีลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์นั้น จำเป็นจะต้องมีความสมดุลแห่งประโยชน์ ซึ่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 ยังมีขาดสมดุลแห่งประโยชน์ระหว่างผู้สร้างสรรค์กับสังคม และ (4) ควรมีการทบทวนบทบัญญัติของกฎหมายมาตรา 38 และมาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 เพื่อปรับปรุงแก้ไขบทลงโทษทางอาญา รวมถึงการยกเลิกกฎหมายบางข้อให้เหลือเท่าที่จำเป็น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11306
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.71 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons