Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11309
Title: ระบบการพิจารณาคดีของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ
Other Titles: Trial system of the criminal court for the corruption and misconduct cases
Authors: ลาวัลย์ หอนพรัตน์
สิทธิโชคคำวงศ์ คำวงศ์, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: วิธีพิจารณาความอาญา
การพิจารณาคดี
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อค้นหาที่มาของวิวัฒนาการ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับระบบการพิจารณาคดีของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ (2) เพื่อศึกษาหลักเกณฑ์ แนวคิด เกี่ยวกับระบบการพิจารณาคดีของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ (3) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาระบบการพิจารณาคดีของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ และแสวงหารูปแบบของการพิจารณาคดีของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบในแง่มุมต่างๆในเชิงศึกษาเปรียบเทียบ (4) เพื่อวิเคราะห์ประเด็นปัญหา ทั้งเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงหรือตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีความเหมาะสมกับบริบทของสังคมและกฎหมายของประเทศไทยต่อไป การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเอกสารจากพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550 คำพิพากษาศาลฎีกา ตลอดจนการเปรียบเทียบกฎหมายของไทยกับต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า (1) ทำให้ทราบที่มาของวิวัฒนาการ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับระบบการพิจารณาคดีของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ (2) ทราบหลักเกณฑ์ แนวคิดเกี่ยวกับระบบการพิจารณาคดีของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ (3) ทราบสภาพปัญหาระบบการพิจารณาคดีของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ (4) ได้ข้อสรุปและข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยต่อไป โดยผลการศึกษา ผู้ศึกษาเสนอให้ใช้ระบบไต่สวนแบบผสมผสานกับระบบกล่าวหา เพื่อเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานมาประกอบการพิจารณาตัดสินคดีได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ รวมทั้งให้สิทธิคู่ความที่จะอุทธรณ์หรือฎีกาคำพิพากษาของศาลหากคู่ความยังยืนยันถึงความผิดของผู้ถูกฟ้องหรือความบริสุทธิ์ของตนเองได้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11309
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.97 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons