Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11311
Title: | กฎหมายเกี่ยวกับสินค้าที่ไม่ปลอดภัย กรณีศึกษาเรื่องอาหารสำเร็จรูปที่มีสารปนเปื้อน |
Other Titles: | Product liability law : case study of contaminants in food processed |
Authors: | ลาวัลย์ หอนพรัตน์ ภาณุพงศ์ ม่วงปิ่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | กฎหมายอาหาร--ไทย อาหารสำเร็จรูป การปนเปื้อนในอาหาร การศึกษาอิสระ--กฎหมายธุรกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎีและกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค รวมถึงสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยด้านอาหาร รวมทั้งมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับอาหารสำเร็จรูปที่มีสารปนเปื้อน ทั้งการคุ้มครอง การลงโทษและการเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากอาหารสำเร็จรูปที่มีสารปนเปื้อน เพื่อให้ข้อเสนอแนะด้านมาตรการที่เหมาะสมของกระบวนการกำกับดูแลเรื่องอาหารปลอดภัยในประเทศไทย การศึกษาฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการค้นคว้าด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร ศึกษาจากกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องรวมถึงหนังสือ บทความ รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ตลอดจนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิคส์ในเว็บไซต์หน่วยงานรัฐต่าง ๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นต้น เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า การคุ้มครองผู้บริโภคเป็นเรื่องสำคัญที่มีผลต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมเนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าและการบริการได้หลากหลายรูปแบบ การคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการจึงเป็นสิทธิของผู้บริโภคอันควรจะได้รับจากการใช้สินค้าหรือบริการนั้น การผลิตสินค้าอาหารสำเร็จรูปในปัจจุบันนั้น มีมาตรการทางกฎหมายที่นำมาใช้บังคับในกรณีผู้บริโภคได้รับความเสียหายจากสินค้าอาหารสำเร็จรูปที่มีสารปนเปื้อน คือ พ.ร.บ. ความรับผิดต่อความเสียหายอันเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 โดยกฎกระทรวงไม่ได้ยกเว้นสินค้าที่เป็นอาหารปรุงสำเร็จหรืออาหารสำเร็จรูป ดังนั้น อาหารสำเร็จรูป จึงอยู่ในนิยามของคำว่าสินค้าตามที่กฎหมายกำหนด หากได้รับความเสียหายจากอาหารสำเร็จรูปที่มีสารปนเปื้อนสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายตามกฎหมายนี้ได้ และใช้หลักความรับผิดโดยเคร่งครัดมาบังคับใช้ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ที่ได้รับความเสียหาย และนอกจากนี้ยังมี พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 ที่อาหารสำเร็จรูปที่มีสารปนเปื้อนจัดอยู่ในนิยามของอาหารไม่บริสุทธิ์ที่มีการควบคุม โดยมีประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนดมาตรฐานสารปนเปื้อนในอาหารไว้ในฉบับที่ 98 และฉบับที่ 273 และจากการศึกษาพบว่าการกำกับดูแลและเยียวยาความเสียหายที่เกิดจากอาหารปรุงสำเร็จหรืออาหารสำเร็จรูปมีกฎหมายหลายฉบับมาเกี่ยวข้องยังขาดความเป็นเอกภาพ โดยขอเสนอแนะให้มีการกำหนดนิยามของสินค้าให้ชัดเจนว่าหมายความรวมถึงอาหารปรุงสำเร็จหรืออาหารสำเร็จรูปหรือไม่ และการประกาศมาตรฐานสารปนเปื้อนในอาหารควรมีการประกาศให้ครอบคลุมสารปนเปื้อนทุกประเภทที่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคเพื่อความปลอดภัยและสุขภาพของผู้บริโภคอย่างยั่งยืน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11311 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License