กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11314
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการผลิตลองกองตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ในอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension of Longkong production according to good agricultural practices of farmers in Khuan Don district, Satun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
อาดิล หวังกุหลำ, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ลองกอง--การผลิต
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไป สังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตลองกอง 3) ความรู้และการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของการผลิตลองกองตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และ 5) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตลองกอง ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 71.6 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 55.51 ปี จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ประสบการณ์การปลูกลองกองเฉลี่ย 16.98 ปี พื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดเฉลี่ย 10.07 ไร่ พื้นที่ผลผลิตลองกองเฉลี่ย 1.47 ไร่ รายได้จากการผลิตลองกองเฉลี่ย 6,008.62 บาทต่อไร่ เกษตรกรร้อยละ 97.4 มีแหล่งเงินทุนเป็นของตัวเอง 2) ลักษณะสวนลองกองเป็นแบบผสมผสาน โดยการปลูกลองกองร่วมกับทุเรียน ใช้ต้นพันธุ์ที่ได้จากการเสียบยอด เกษตรกรร้อยละ 64.7 ได้ต้น พันธุ์มาจากร้านค้าพันธุ์ไม้ใกล้บ้าน ใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ใช้แรงงานในครอบครัวในการเก็บผลผลิต และขายผลผลิตยังจุดรับซื้อ 3) เกษตรกรมีความรู้และการปฏิบัติในการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีอยู่ในระดับมาก และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้ง 8 ประเด็น 4) เกษตรกรมีปัญหาในการผลิตลองกองตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง คือ ปัญหาด้านพื้นที่ปลูก ด้านการพักผลิตผล การขนย้ายในแปลงปลูก และเก็บรักษา โดยมีข้อเสนอแนะให้เกษตรกรผลิตปุ๋ยหมักใช้เองเพื่อให้ดินอุดมสมบูรณ์ 5) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการผลิตลองกองระดับมาก เกี่ยวกับการผลิต การบริหารจัดการสวน และการตลาด ตามลำดับ โดยวิธีการส่งเสริมที่เกษตรกรมีความต้องการในระดับมาก คือ แบบรายบุคคล
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11314
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม24.32 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons