Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11315
Title: การส่งเสริมการผลิตมังคุดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ในอำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช
Other Titles: Extension for mangosteen production in according with good agricultural practices of farmer in Phrom khiri district, Nakhon Si Thammarat Province
Authors: เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิกัณตา ช่วยนุกูล, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มังคุด--ไทย--นครศรีธรรมราช--การผลิต
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไป สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) กระบวนการผลิตมังคุดและการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการผลิตมังคุดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 4) การได้รับและความต้องการการส่งเสริมการผลิตมังคุดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและ 5) วิเคราะห์แนวทางการผลิตมังคุดตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรที่ได้รับการรับรอง ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 55.48 ปี มีประสบการณ์ปลูกมังคุด 23.88ปีเป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่ มีพื้นที่ปลูกมังคุดเฉลี่ย 6.67 ไร่ ส่วนเกษตรกรที่ไม่ได้รับการรับรองส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 50.99 ปีมีประสบการณ์ปลูกมังคุด 19.10 ปี ไม่เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร มีพื้นที่ปลูกมังคุดเฉลี่ย 4.41 ไร่ และเกษตรกรทั้งสองกลุ่มส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา 2) เกษตรกรที่ได้รับการรับรองปลูกมังคุดระยะห่าง8x8 เมตร ส่วนเกษตรกรที่ไม่ได้รับการรับรองเป็นสวนดั้งเดิมไม่กำหนดระยะปลูกโรคระบาดและแมลงศัตรูมังคุดที่ทั้งสองกลุ่มพบมากที่สุด คือ เนื้อแก้วยางไหล และเพลี้ยไฟ ต้นทุนเฉลี่ยรวมของทั้งสองกลุ่มเมื่อทดสอบค่าทีไม่มีความแตกต่างกัน แต่ราคาผลผลิตมังคุด (บาท/ก.ก.) และปริมาณผลผลิตมังคุด (ก.ก./ไร่/ปี)ของเกษตรกรที่ได้รับการรับรองสูงกว่าเกษตรกรที่ไม่ได้รับการรับรอง เกษตรกรที่ได้รับการรับรองมีการปฏิบัติตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของมังคุดในระดับที่สูงกว่าเกษตรกรที่ไม่ได้รับการรับรองทุกข้อกำหนด 3) ปัญหาของเกษตรกรทั้งสองกลุ่ม คือ เรื่องผลิตผลผลิตผิวสวยปลอดศัตรูพืช และมีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลช่วยพยุงราคา กระจายผลผลิตและแก้ปัญหามังคุดล้นตลาด 4) เกษตรกรที่ได้รับการรับรองมีการได้รับความรู้ในระดับที่สูงกว่าและต้องการช่องทางการส่งเสริมผ่านสื่อบุคคล และวิธีบรรยาย ส่วนเกษตรกรที่ไม่ได้รับการรับรองต้องการผ่านช่องทางสื่อออนไลน์ และวิธีบรรยาย และ 5) แนวทางส่งเสริม คือ ส่งเสริมให้เกษตรกรที่ไม่ได้รับการรับรองมีการรวมกลุ่ม เพื่อง่ายต่อการผลิตมังคุดให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และส่งเสริมเกษตรกรที่ได้รับการรับรองบันทึกข้อมูลกิจกรรมการเกษตร
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11315
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม21.48 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons