Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11319
Title: การส่งเสริมการจัดการโรคใบด่างมันสำปะหลังของเกษตรกร ในอำเภอตาพระยา จังหวัดสระแก้ว
Other Titles: Extension for cassava mosaic disease management in Ta Phraya district, Sa Kaeo Province
Authors: นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธำรงเจต พัฒมุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชัชวาลย์ ใจฟอง, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มันสำปะหลัง--โรคและศัตรูพืช--การป้องกันและควบคุม
ใบไม้ --โรคและศัตรูพืช
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกร 3) ความรู้และการปฏิบัติในการส่งเสริมการจัดการโรคใบต่างมันสำปะหลังของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการจัดการโรคใบต่างมันสำปะหลังของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 52.40 ปี มีพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 21.41 ไร่ มีประสบการณ์การปลูกเฉลี่ย 13.39 ปี มีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 3,205.45 กิโลกรัม 2) เกษตรกรปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ ระยอง 72 ส่วนใหญ่เก็บท่อนพันธุ์ไว้ใช้เอง มีการเตรียมท่อนพันธุ์มันสำปะหลังก่อนปลูกและเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังที่อายุ 12 เดือน 3) เกษตรกรมีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคใบต่างมันสำปะลังในระดับปานกลาง และส่วนใหญ่มีการปฏิบัติในการส่งเสริมการจัดการโรคใบต่างมันสำปะหลัง ด้านการจัดการและควบคุมโรคใบต่างมันสำปะหลังมากที่สุด 4) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมการจัดการโรคใบด่างมันสำปะหลัง ด้านการจัดการโรคใบต่างมันสำปะหลังอยู่ในระดับมาก สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากขาดแรงงาน ขาดเงินทุน และมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เกษตรกรมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการจัดการโรคใบต่างมันสำปะหลัง ในด้านการสนับสนุนในระดับมากที่สุด คือ ควรมีการสนับสนุนและช่วยเหลือเกษตรกรในด้านการจัดการโรคใบต่างมันสำปะหลัง รวมถึงการผลิตและการตลาด
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11319
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.97 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons