กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11320
ชื่อเรื่อง: | การรับรู้สารสนเทศการเกษตรของเกษตรกรในตำบลงิ้ว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Agricultural information perception of farmers in Ngio Sub-district, Thoeng district, Chiang Rai Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุนันท์ สีสังข์ พนิดา คูหา, 2534- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พลสราญ สราญรมย์ |
คำสำคัญ: | การรู้สารสนเทศ สารสนเทศทางการเกษตร |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) การรับรู้และการใช้ประโยชน์สารสนเทศการเกษตรของเกษตรกร 3) ความคิดเห็นและความต้องการสารสนเทศด้านการเกษตรของเกษตรกร และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการรับรู้สารสนเทศ ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรอายุเฉลี่ย 54.95 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ไม่มีตำแหน่งทางสังคม เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรมากที่สุด อาชีพหลักคือการทำนาอาชีพรองคือการทำสวน ส่วนใหญ่มีการถือครองพื้นที่ทางการเกษตรเป็นของตนเองทั้งไม่มีเอกสารสิทธิ์และมีเอกสารสิทธิ์ มีพื้นที่ทำการทั้งหมดเฉลี่ย 16.19 ไร่/ครัวเรือน รายได้รวมของครัวเรือนเฉลี่ยปีละ 210,278.50 บาท โดยรายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ยปีละ 138,871.10 บาท 2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีการรับรู้สารสนเทศทางการเกษตรผ่านสื่อบุคคลจากผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และนำเนื้อหาสารสนเทศทางการเกษตรไปใช้ประโยชน์ในด้านการผลิตพืชในระดับมากที่สุด 3) ในภาพรวม เกษตรกรเห็นด้วยในประเด็นที่ว่า สื่อที่เผยแพร่สารสนเทศด้านการเกษตรตรงกับความรู้ที่ต้องการ และมีความต้องการสารสนเทศจากสื่อประเภทบุคคล ได้แก่ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร ผู้นำชุมชน กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ในระดับมากที่สุด 4) เกษตรกรมีปัญหาในการรับรู้สารสนเทศทางการเกษตรจากผู้ส่งสาร คือ ปัญหาเกี่ยวกับระยะทางห่างไกลจากหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ ที่ให้ข้อมูลด้านการเกษตร โดยเกษตรกรมีข้อเสนอแนะว่า ขอให้มีศูนย์ข้อมูลข่าวสารทางด้านการเกษตรอยู่ในพื้นที่เพื่อลดปัญหาการเข้าถึงข้อมูลล่าช้า นอกจากนี้ เกษตรกรควรมีโอกาสในการเข้ารับการอบรมความรู้ด้านการเกษตรมากขึ้นด้วย |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11320 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.3 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License