กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11324
ชื่อเรื่อง: แนวทางพัฒนาศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนในจังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development guideline of community pest management centers in Buriram Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ไพศาล แก้วบุตรดี, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: การพัฒนาองค์การ
การบริหารองค์การ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคมและการศึกษาของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน 2) ความคิดเห็นของสมาชิกต่อศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน 3) ปัญหาของสมาชิกต่อการดำเนินงานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน และ 4) วิเคราะห์แนวทางการพัฒนาศูนย์จัดการศัดรูพืชชุมชน ผลการศึกษาพบว่า 1) สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุสมาชิกเฉลี่ย 54.76 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นสมาชิกศูนย์เฉลี่ย 3.35 ปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.18 คนจำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่ช่วยทำการเกษตรเฉลี่ย 3.00 คน รายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 108,951.40 บาท มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย จำนวน 26.77 ไร่เกษตรกรมีพื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย จำนวน 23.10 ไร่ 2) สมาชิกมีระดับความคิดเห็นต่อศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ต่อความพร้อมของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (3.63) โดยเห็นด้วยต่อความรู้ความสามารถเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในระดับมาก (3.80) รองลงมาคือ หลักสูตรการเรียนรู้ของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (3.78) ความเป็นประโยชน์ของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (3.64) และเห็นด้วยระดับปานกลางต่อสถานที่ศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (3.31) 3) สมาชิกมีปับญหาภาพรวมระดับน้อย โดยระดับปัญหามาก คือ การสร้างและเชื่อมโยงเครือข่าย 3.66รองลงมาคือ การจัดการศัตรูพืชและการให้บริการ (2.97) การจัดทำแผนการดำเนินงานศูนย์ (2.17) การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ (2.07) และการบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (1.87) 4) แนวทางการพัฒนาศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน พัฒนาโครงสร้างศูนย์ให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม โดยเพิ่มประสิทธิภาพศูนย์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการอารักขาพืช ส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ให้ทันสมัย เนื้อหาสั้นกระชับ ครอบคลุมทุกประเด็น และส่งเสริมเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและสมาชิก ให้ได้รับการพัฒนาศักยภาพ ความรู้ ทักษะและประสบการณ์ด้านการอารักขาพืช ให้เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้สู่เครือข่าย และเกษตรกรทั่วไป สามารถนำไปบริหารจัดการศัตรูพืชด้วยตัวเองได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11324
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.42 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons