กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11328
ชื่อเรื่อง: | การใช้สารเคมีเพื่อการป้องกันและกาจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัยสำหรับการปลูกผักของกลุ่มเกษตรกรในอำเภอขุนตาล จังหวัดเชียงราย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Safely chemical application for vegetable pest control by farmers in Khun Tan district of Chiang Rai Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุนันท์ สีสังข์ ศิวิรุฬห์ พีระเชื้อ, 2534- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ธำรงเจต พัฒมุข |
คำสำคัญ: | สารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ สารฆ่าวัชพืช |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้ของเกษตรกร เกี่ยวกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย 3) การปฏิบัติของเกษตรกรในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัย 4) ปัญหาและความต้องการของเกษตรกรเกี่ยวกับการส่งเสริมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชผักอย่างปลอดภัย ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง อายุเฉลี่ย 50.49 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ปวช. จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 2.55 คน ประสบการณ์ในการปลูกผักและการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชผักเฉลี่ย 31.46 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร โดยเกษตรกรครึ่งหนึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ได้รับแหล่งข้อมูลความรู้ในระดับบ่อยๆ จาก อินเตอร์เน็ต จำนวนแรงงานในครัวเรือนที่ใช้ในการปลูกผักเฉลี่ย 1.45 คน มีการใช้แรงงานจ้างเพียงบางราย พื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมดเฉลี่ย 7.22 ไร่ เป็นของตนเอง พื้นที่ในการปลูกผักเฉลี่ย 2.10 ไร่ ในรอบปีการผลิตที่ผ่านมา เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกผักเฉลี่ย 4,385.83 บาทต่อรอบการผลิต รายจ่ายทั้งหมดที่ใช้ในการปลูกผักเฉลี่ย 1,525.20 บาท รายจ่ายในการซื้อสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผักเฉลี่ย888.19 บาท 2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในระดับมาก 3) เกษตรกรมีการปฏิบัติในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้องตามหลักวิชาการเป็นประจำ เกษตรกรทุกรายใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ส่วนใหญ่ใช้สารกำจัดแมลง 1 ครั้งต่อฤดูการผลิต ร้อยละ 7.9 เคยแพ้สารเคมี 4) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการซื้อสารเคมีในระดับมาก ส่วนความรู้ การปฏิบัติ และการเก็บรักษาสารเคมี อยู่ในระดับปานกลาง โดยเกษตรกรมีความต้องการให้ภาครัฐควรมีการควบคุมราคาของสารเคมี จัดหาสารเคมีทีมีคุณภาพให้แก่เกษตรกร การจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างถูกต้องและปลอดภัย อีกทั้งควรส่งเสริมทางเลือกในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีการอื่น ๆ ทดแทนการใช้สารมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11328 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.24 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License