กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11329
ชื่อเรื่อง: แนวทางส่งเสริมเพื่อพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for the development of community enterprises Mueang Chaiyaphum district Chaiyaphum Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศจี ประชากูล, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: วิสาหกิจชุมชน--ไทย--ชัยภูมิ
วิสาหกิจชุมชน--การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน 2) การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน 3) ปัญหาในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนของสมาชิก และ 4) ความต้องการและแนวทางพัฒนาวิสาหกิจชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ผลวิจัยพบว่า 1) สมาชิกมากกว่าครึ่งเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 52.26 ปี จบระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ระยะเวลาเป็นสมาชิกเฉลี่ย 2.87 ปี มีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมวิสาหกิจชุมชนอยู่ในระดับมาก สมาชิกส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อบุคคล 2) โดยภาพรวมสมาชิกเห็นด้วยกับการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนในระดับปานกลาง โดยเห็นด้วยในระดับปานกลาง 3 ด้าน ดังนี้ ด้านการบริหารจัดการ ด้านการผลิต และด้านการตลาด และเห็นด้วยในระดับน้อย 1 ด้าน คือ ด้านบัญชีและการเงิน 3) ปัญหาในการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง ในด้านการผลิต ผลิตภัณฑ์ไม่ได้รับมาตรฐาน ด้านการตลาด ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมีการแข่งขันสูง และด้านบัญชีและการเงิน ไม่มีระบบบัญชีที่ดี 4) ความต้องการในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนมีความต้องการความรู้ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการผลิต ด้านการตลาด และด้านการบริหารจัดการ สำหรับแนวทางพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ประกอบด้วย กลยุทธ์เชิงรุก คือ ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพผู้นำและสมาชิกในการบริหารจัดการ ส่งเสริมการพัฒนาสินค้าให้ได้มาตรฐานสินค้า เพิ่มช่องทางการจำหน่ายทางออนไลน์ กลยุทธ์เชิงแก้ไข คือ อบรมความรู้เกี่ยวกับการผลิตสินค้าและบรรจุภัณฑ์ และการจัดทำบัญชีที่ดี กลยุทธ์เชิงป้องกัน คือสร้างแผนพัฒนาวิสาหกิจชุมชนผ่านการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ปัญหา การวางแผนการดำเนินงาน การประเมินผล และการได้รับผลประโยชน์ และกลยุทธ์เชิงรับ คือ สร้างและพัฒนาบุคลากรโดยจัดฝึกอบรมทั้งในด้านการผลิต การตลาด และการบัญชี และจัดหาแนวทางในการควบคุมต้นทุนการผลิตโดยสร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนต่างๆ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11329
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons