กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1132
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการจัดการเงินกู้ยืมกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของครอบครัวที่กู้ยืมเงินในอำเภอบ้านนาสารจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to management of loan given by village funds and city community loan program for familys at Bannasan district in Suratthani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พูนศิริ วัจนะภูมิ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุชาดา สถาวรวงศ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภมาส อังศุโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุดา แป๊ะป๋อง, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการพัฒนาครอบครัวและสังคม --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง--ไทย--สุราษฎร์ธานี
การกู้ยืม--ไทย--สุราษฎร์ธานี
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปของครอบครัวที่กู้ยืมเงินกองทุน ปัจจัยที่เกี่ยวกับการจัดการเงินกู้ยืม และลักษณะการจัดการเงินกู้ยืมกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของ ครอบครัวที่กู้ยืมเงิน (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลระดับบุคคลที่ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษาอาชีพ รายได้ขนาดครอบครัวและประชากรวัยพึ่งพิงกับการจัดการเงินกู้ยืมกองทุน (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหนี้สินเดิมกับการจัดการเงินกู้ยืมกองทุน (4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างประเภทการลงทุนกับการจัดการเงินกู้ยืมกองทุน (5) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสินทรัพย์ เดิมกับการจัดการเงินกู้ยืมกองทุน และ (6) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนในการใช้จ่ายกับ การจัดการเงินกู้ยืมกองทุน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วยสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในอําเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานีที่กู้ยืมเงินตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544-2545 จํานวน 337 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบ สัมภาษณ์เกี่ยวกับปัจจัยที่สัมพันธ์กับการจัดการเงินกู้ยืมกองทุน ซึ่งมีความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ครอบครัวที่กู้ยืมเงินเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย ส่วนใหญ่ มีอาชีพทําสวน (2) ปัจจัยระดับบุคคลไม่สัมพันธ์กับการจัดการเงินกู้ยืมกองทุน (3) หนี้สินเดิมกับการจัด การเงินกู้ยืมกองทุนไม่มีความสัมพันธ์กัน (4) ประเภทการลงทุนกับการจัดการเงินกู้ยืมกองทุนมีความ สัมพันธ์กัน โดยสมาชิกส่วนใหญ่จะลงทุนในอาชีพทําสวน คิดเป็นร้อยละ 50.2 (5) สินทรัพย์เดิมกับการ จัดการเงินกู้ยืมกองทุนมีความสัมพันธ์กัน โดยสมาชิกที่ลงทุนในอาชีพเดิมจะนําทรัพย์สินเดิมมาร่วมใน การลงทุนด้วย (6) การวางแผนในการใช้จ่ายกับการจัดการการเงินกู้ยืมกองทุนมีความสัมพันธ์กัน โดย สมาชิกกองทุนที่มีการวางแผนการใช้จ่ายในระดับดีสามารถชําระคืนเงินกู้ยืมกองทุนได้เพียงพอ คิดเป็น ร้อยละ 88.4
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (คศ.ม.(การพัฒนาครอบครัวและสังคม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1132
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Hum-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext 83664.pdfเอกสารฉบับเต็ม937.43 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons