กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11332
ชื่อเรื่อง: | การจัดการการผลิตเพื่อสร้างรายได้เสริมในสวนยางพารา กรณีศึกษานางพูลสุข พิทยาสุนทร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Production management to generate additional income in the rubber plantations: a case study of Mrs. Poonsuk Phittayasunthon |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สัจจา บรรจงศิริ กรรณิการ์ มาเอียด, 2532- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา บำเพ็ญ เขียวหวาน |
คำสำคัญ: | ยางพารา--การผลิต รายได้เกษตร สวนยาง--การจัดการ การจัดการรายได้ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกร 2) รูปแบบการจัดการการผลิตเพื่อสร้างรายได้เสริมในสวนยางพาราของเกษตรกร 3) ส่วนประสมการตลาดของฟาร์มเกษตรกร 4) ปัจจัยความสำเร็จของเกษตรกร และ 5) ผลการเปลี่ยนแปลงของฟาร์มเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่า 1) นางพูลสุขพิทยาสุนทร อายุ 65ปี จบการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4สถานภาพสมรสเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับ การยกย่องและได้รับรางวัลเี่ยวกับการเกษตรหลายรางวัลสภาพสวนเป็นที่ราบลุ่มดินเป็นดินร่วนปนทรายปริมาณฝนและการกระจายตัวของฝนเหมาะสมเพียงพอสำหรับการทำเกษตร 2)รูปแบบการจัดการการผลิตเป็นแบบเกษตรผสมผสานที่มีการเกื้อกูลกันในพื้นที่ปลูกยางพาราปลูกพืชผักและผลไม้หลากหลายชนิดมีการเลี้ยงสัตว์ (ไก่ เป็ดแพะ หมู ผึ้ง) และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำร่วมณันการใช้ปัจจัยการผลิตภายในฟาร์มไม่ใช้สารเคมี และมีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทำให้เกิดการสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าการปลูกยางพาราเพียงอย่างเดียว3)ส่วนประสมการตลาดมีการแบ่งส่วนตลาดกำหนดตลาดเป้าหมายและวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์สินค้ามีกลยุทธ์การจัดการคือผลิตสินค้าตามความต้องการตลาดและมีการแปรรูปเพิ่มมูลค่ากำหนดราคาสินค้าจากต้นทุนการผลิตกระจายสินค้าโดยนำไปขายเองในตลาดชุมชนและตลาดจังหวัดและส่งเสริมการขายโดยการบอกต่อของผู้บริโภค 4)ปัจจัยความสำเร็จคือปัจจัยภายในคือตัวเกษตรกรมีการวางแผนจัดการฟาร์มเพื่อให้เกิดรายได้สูงสุดมีคุณภาพผลผลิตที่ดี มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำสามารถผลิตปัจจัยการผลิตได้เองส่วนปัจจัยภายนอกเกิดจากราคาของสินค้าเหมาะสมกับคุณภาพและการจำหน่ายมี หลายช่องทางและ 5) ผลการเปลี่ยนแปลงของฟาร์มเกษตรกรคือมีรายได้ที่เพิ่มมากขึ้นเป็นแหล่งเรียนรู้และจุดถ่ายทอดให้แก่ผู้สนใจและสภาพแวดล้อมภายในฟาร์มมีความอุดมสมบูรณ์ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11332 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 18.51 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License