Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11336
Title: | การส่งเสริมเครือข่ายผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร ตำบลกล้วยกว้าง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ |
Other Titles: | Extension of the organic rice network of farmers in Kluay Kwang sub-district, Huai Thap Than District, Si Sa Ket Province |
Authors: | เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ ภิชาติ เพชรนาม, 2529- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา บำเพ็ญ เขียวหวาน |
Keywords: | การส่งเสริมการเกษตร ข้าวอินทรีย์ ข้าวอินทรีย์--การปลูก--การมีส่วนร่วมของประชาชน |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาสภาพพื้นฐานทางสังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ 2) ความรู้เกี่ยวกับเครือข่ายผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร 3) การได้รับการส่งเสริมเครือข่ายผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร 4) ความต้องการการส่งเสริมเครือข่ายผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรและ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมเครือข่ายผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรผู้ปลูข้าวกอินทรีย์ส่วนมากจบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด เฉลี่ย 15.67 ไร่ มีพื้นที่ปลูกข้าวเพื่อผลิตข้าวอินทรีย์ เฉลี่ย 10.95ไร่ มีปริมาณผลผลิตข้าวอินทรีย์เฉลี่ย 401.12 กิโลกรัมต่อไร่ 2)เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับเครือข่าย ในภาพรวมระดับมากที่สุด 3)ได้รับความรู้จากวิธีการส่งเสริมเครือข่ายแบบต่างๆ ในภาพรวมระดับมากโดยรับทราบข้อมูลข่าวสารจากวิธีการส่งเสริมในระดับมากที่สุดใน 4 วิธี ได้แก่ การฝึกอบรม เจ้าหน้าที่เข้าไปเยี่ยมเยียนเกษตรกรที่ไร่นาหรือบ้าน การประชุม และเกษตรกรเข้าไปติดต่อเจ้าหน้าที่ที่สำนักงาน 4) เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมเกษตรเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ มากที่สุด ใน 3 อันดับแรก ได้แก่ สร้างและพัฒนาผู้นำ การจัดเวทีให้เครือข่ายได้พบกันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างสม่ำเสมอ และการสร้างเสริมผู้นำรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง 5) เกษตรกรมีปัญหาการส่งเสริมเครือข่าย คือ คณะกรรมการกลุ่มและสมาชิกขาดการค้นหาความต้องและจุดร่วม ขาดการรักษาสัมพันธภาพที่ดีระหว่างสมาชิก และขาดการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการจัดอบรม เพื่อพัฒนาผู้นำกลุ่ม/ผู้นำรุ่นใหม่ ควรจัดให้มีการอบรม สัมมนาศึกษาดูงานในพื้นที่ที่กลุ่มเครือข่ายเกษตรกรประสบความสำเร็จ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจ เพิ่มเติมความรู้ และนำมาต่อยอดในพื้นที่ของตนเองและเจ้าหน้าที่ควรจัดกระบวนการเรียนรู้ให้คำแนะนำแก่เกษตรกรให้รู้จักการบริหารจัดการ ดำเนินงานกลุ่มที่เข้มแข็งและมีศักยภาพ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11336 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.53 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License