กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11339
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปลูกผักเหมียงร่วมยางพาราในอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors relating to Pak-Miang ( Gnetum gnemon Linn. var. tenerum Markgr.) production in rubber intercropping systems in Thalang District, Phuket Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน
พิเชษฐ์พงษ์ จำปาดี, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม
คำสำคัญ: ผักเหมียง
ผักเหมียง--การปลูก
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร (2) สภาพความรู้ แหล่งความรู้ และความคิดเห็นในการปลูกผักเหมียงร่วมยางพาราของเกษตรกร (3) สภาพการผลิตและการจัดการแปลงปลูกผักเหมียงร่วมยางพาราของเกษตรกร (4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปลูกผักเหมียงร่วมยางพาราของเกษตรกร และ (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะการปลูกผักเหมียงร่วมยางพาราของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 58.23 ปี รายได้จากการประกอบอาชีพในภาคการเกษตรเฉลี่ย 45,718.60 บาท พื้นที่ปลูกยางพาราเฉลี่ย 6.14 ไร่ 2) เกษตรกรส่วนมากมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการปลูกพืชร่วมยางพาราในระดับน้อย ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักเหมียงร่วมยางพาราในระดับปานกลาง โดยส่วนมากได้รับความรู้ จากสื่อมวลชน สื่อกลุ่ม และสื่อบุคคล ตามลำดับ เกษตรกรมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการปลูกผักเหมียงร่วมยางพาราในระดับมาก 3) สภาพการผลิต เกษตรกรมีการปลูกผักเหมียงร่วมยางพารา 3-5 ปี โดยการนำการจัดการแปลงปลูกผักเหมียงร่วมยางพาราไปปฏิบัติ ในประเด็น การปรับปรุงบำรุงดิน การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช และการจัดการแปลงปลูก 4) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปลูกผักเหมียงร่ยวมกับยางพาราของเกษตรกร คือ อายุ รายได้ พื้นที่ถือครอง จำนวนแรงงาน และระดับการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 5) เกษตรกรมีปัญหาด้านการผลิตและความรู้เกี่ยวกับการผลิตพืชร่วมยังในระดับปานกลาง โด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11339
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.36 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons