กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11340
ชื่อเรื่อง: การผลิตลำไยของเกษตรกรให้ได้คุณภาพตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในอำเภอพญาเม็งราย จังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guidelines in quality Longan production by the Farmers in Mae Suai District, Chiang Rai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์
โยธิน ทองจรัส, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
พลสราญ สราญรมย์
คำสำคัญ: ลำไย--ไทย--เชียงราย--การผลิต
ลำไย--ไทย--มาตรฐานการผลิต
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบเกษตรกรผู้ปลูกลำไยที่มีการรวมกลุ่มและเกษตรกรทั่วไป ในประเด็นต่อไปนี้ (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการผลิตและการจำหน่ายลำไย (3) การปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และ (4) ปัญหา ข้อเสนอแนะและความต้องการในการส่งเสริมการผลิตลำไยคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน โดยอายุเฉลี่ย 55 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา รายได้หลักจากการทำนา ปลูกลำไยเป็นรายได้เสริม เฉลี่ย 43,776.00 บาท/ปี และ 45,238.81 บาท/ปี ตามลำดับ (2) เกษตรกร 2 กลุ่มไม่แตกต่างกันในเรื่องการผลิตและการจำหน่ายลำไยเกือบทุกประเด็น ประกอบด้วย ขนาดและลักษณะพื้นที่ปลูก แหล่งน้ำ ระบบการให้น้ำ พันธุ์ วิธีการผลิต การลงทุน เครื่องมือ การใช้ปุ๋ย การใช้สารเคมี การจัดการศัตรูพืช ระยะเก็บเกี่ยว วิธีการจำหน่าย และราคาผลผลิต อย่างไรก็ตาม ประเด็นการฝึกอบรมและข่าวสารเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี เกษตรกรที่มีการรวมกลุ่มมีการได้รับมากกว่าเกษตรกรทั่วไป นอกจากนี้ การดำเนินการบริหารกลุ่มมีชัดเจนและมีการพัฒนาในเรื่อง การลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิต และการพัฒนาคุณภาพผลผลิต (3) เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มมีความพร้อมในการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ประเด็นที่เกษตรกรต้องมีการปรับปรุง ได้แก่การสำรวจและการบันทึกการเข้าทำลายของศัตรูลำไย และการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร สำหรับการปฏิบัติตามแผนการควบคุมการผลิตลำไยคุณภาพ เกษตรกรสามารถปฏิบัติได้เป็นส่วนใหญ่ มีเพียงบางช่วง เช่น หลังการเก็บเกี่ยวควรมีการจัดการป้องกันกำจัดโรคและแมลง การป้องกันการแตกใบอ่อนด้วยการพ่นปุ๋ยทางใบก่อนการออกดอก และการจัดการต้นระยะออกดอกถึงก่อนการเก็บเกี่ยวโดยการตัดแต่งช่อผล นอกจากนี้ เกษตรกรที่รวมกลุ่มมีการปฏิบัติมากกว่าเกษตรกรทั่วไป (4) ความต้องการของเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มในการผลิตลำไยคุณภาพได้แก่ แหล่งน้ำ การส่งเสริมการผลิตลำไยคุณภาพ และการสนับสนุนเทคโนโลยีก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11340
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.73 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons