กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11341
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการผลิตลำไยคุณภาพของเกษตรกร ในอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guidelines in quality Longan production by the Farmers in Mae Suai District, Chiang Rai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
นฤมล กันหา, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ลำไย--ไทย--เชียงราย--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการผลิตลำไยและการตลาดลำไยของเกษตรกร 2) ความรู้ แหล่งความรู้ ความคิดเห็น และความต้องการในการผลิตลำไยคุณภาพของเกษตรกร 3) การใช้เทคโนโลยีในการผลิตลำไยคุณภาพของเกษตรกร 4) การจัดการโซ่อุปทานลำไยคุณภาพของเกษตรกร 5) ปัญหา และข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการผลิตลำไยคุณภาพของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรปลูกลำไยพันธุ์อีดอ พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นเชิงเขา ปริมาณผลผลิตเฉลี่ย 214.22 กิโลกรัมต่อไร่ นำไปขายที่จุดรับซื้อในท้องถิ่น เพื่ออบแห้ง 2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตลำไยคุณภาพในระดับปานกลาง ได้รับความรู้จากแหล่งต่างๆ โดยภาพรวมอยู่ระดับน้อย โดยได้รับจากสื่อออนไลน์มากที่สุด รองลงมาคือ สื่อมวลชน ความคิดเห็นต่อการผลิตลำไยคุณภาพโดยภาพรวมอยู่ระดับปานกลางโดยมีความคิดเห็นต่อการตัดแต่งกึ่ง ตัดแต่งช่อผล และทำให้รายได้เพิ่มขึ้นในระดับมาก ความต้องการของเกษตรกรอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความต้องการด้านความรู้มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการสนับสนุนและด้านการส่งเสริม 3) การใช้เทคโนโลยีในการผลิตลำไยคุณภาพของเกษตรกรโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีการยอมรับและปฏิบัติในการเก็บเกี่ยวลำไยในระยะเก็บเกี่ยวที่เหมาะสมมากที่สุด รองลงมาคือ การตัดแต่งกึ่งกลางทรงพุ่มและกิ่งในทรงพุ่มไม่แน่นทึบหลังเก็บเกี่ยวผลแล้ว และเก็บผลผลิตในสถานที่สะอาด มีอากาศถ่ายเทสะดวก 4) เกษตรกรมีการจัดการโซ่อุปทานลำไยที่สำคัญด้านต้นน้ำ คือ การสนับสนุนแหล่งน้ำ องค์ความรู้ แหล่งเงินทุน กลางน้ำ คือ การส่งเสริม แปรรูป อบรมศักยภาพแรงงาน ปลายน้ำ คือ การรวมกลุ่ม ประกันราคา ส่งเสริมการบริโภคลำไย 5) ปัญหาของเกษตรกรโดยภาพรวมอยู่ระดับมาก โดยมีปัญหาด้านการตลาดมากที่สุด คือ แนวทางการส่งเสริม เกษตรกรเสนอแนะว่าควรให้ความรู้เรื่องกระบวนการผลิต และการตลาด สนับสนุนด้านแหล่งน้ำ ควบคุมราคาปัจจัยการผลิต และการประกันราคาผลผลิต
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11341
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons