กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11342
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการผลิตพริกตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ของเกษตรกรในอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for extension of chili production according to appropriate good Agricultural practice standard of farmer in Sam Sung District, Khon Kaen Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภัคชญา เครือศิริกุล, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: พริก--การผลิต--มาตรฐาน
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้ของเกษตรกรในการผลิตพริกตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 3) การผลิตพริกตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 4) การได้รับการส่งเสริมการผลิตพริกตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการผลิตพริกตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ผลการศึกษา พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 59.36 ปี จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา มีพื้นที่ปลูกพริกเฉลี่ย 0.44 ไร่ ต้นทุนเฉลี่ย 9,405.96 บาท/ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 1,626.64 กิโลกรัม/ไร่รายได้จากการขายพริกเฉลี่ย 19,045 บาท/ปี 2) เกษตรกรได้รับความรู้เรื่องการผลิตพริกในระดับมากที่สุด จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีความรู้เกี่ยวกับการผลิตพริกตามปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีเกือบทุกประเด็นอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และมีความรู้ในระดับน้อยที่สุดในประเด็นการเก็บวัตถุอันตรายที่เหลือจากการใช้ในแปลง 3) เกษตรกรทั้งหมดมีการผลิตพริกตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี โดยทั้งหมดมีการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรตามคำแนะนำ การพักผลิตผล การขนย้าย การเก็บรักษา และการรวบรวมผลิตผล โดยมีการปฏิบัติน้อยในประเด็นการเก็บบันทึกข้อมูลอย่างน้อย 3 ปี 4) การได้รับการส่งเสริมความรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยได้รับการส่งเสริมในด้านแหล่งน้ำ พื้นที่ปลูก แล วัตถุอันตรายทางการเกษตร และ 5) เกษตรกรมีปัญหาในด้านเนื้อหาการส่งเสริมและด้านวิธีการส่งเสริมอยู่ในระดับปานกลาง โดยพบปัญหามากที่สุด ในประเด็นขาดความรู้เรื่องกระบวนการก่อนการเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว และขาดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยเกษตรกรเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการผลิตพริกตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในระดับมากที่สุด ในประเด็น เจ้าหน้าที่ควรให้ความรู้เรื่องแหล่งน้ำ และพื้นที่ปลูก วัตถุอันตรายทางการเกษตร และกระบวนการก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว และควรจัดให้มีการประชุม และแหล่งเรียนรู้เพื่อให้เกษตรกรแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการผลิตพริกตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11342
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons