Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11349
Title: ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา
Other Titles: Factors affecting shopping via online applications of consumers in Songkhla Province
Authors: วิศนันท์ อุปรมัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัชรีญา เชื่อวิทยาวุฒิ, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: การซื้อสินค้าทางไกล
การเลือกของผู้บริโภค--ไทย--สงขลา
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา จำแนกตามข้อมูลทางประชากรศาสตร์ 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา 3) ศึกษาปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลาการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มประชากร ได้แก่ ผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ ในพื้นที่จังหวัดสงขลา กำหนดกลุ่มตัวอย่างประมาณค่าร้อยละ กรณีไม่ทราบประชากร ด้วยตารางสำเร็จรูปของคอนบราค ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด และการหาค่าการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีเพศ อายุ อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ในจังหวัดสงขลา โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านราคา ด้านการส่งเสริมการตลาดด้านบุคคล ด้านกระบวนการ ด้านลักษณะกายภาพ และด้านช่องทางการจัดจำหน่ายมีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา คิดเป็นร้อยละ 59.7 และ (3) ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีด้านการยอมรับเทคโนโลยี ด้านความปลอดภัย และความน่าเชื่อถือมีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอพพลิเคชั่นออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดสงขลา คิดเป็นร้อยละ 40.0
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11349
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.1 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons