Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11351
Title: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518
Other Titles: Legal issues regarding land rights under the Agricultural Land Reform Act, B.E. 2518 (1975)
Authors: มาลี สุรเชษฐ
เชษฐา สายสุนทร, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: กฎหมายที่ดิน
การปฏิรูปที่ดิน--ไทย
ที่ดินเพื่อการเกษตร--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎีของกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมทั้งของไทยและต่างประเทศ (3) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (4) หาแนวทางแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสารโดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร ประกอบด้วยเอกสารที่เกี่ยวข้องทางวิชาการ ตำรา บทความ วารสาร รายงานวิชาการต่าง ๆ วิทยานิพนธ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ บทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นตัวบทกฎหมายของประเทศไทย และต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อนำไปสู่ผลการวิจัย ผลจากการศึกษาพบว่า (1) กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มีมาตั้งแต่สมัยกรีกและโรมัน ต่อมาถูกนำไปใช้ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศไทยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินของประชาชน (2) จากการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายประเทศเกาหลีและประเทศญี่ปุ่นพบว่ามีกฎหมายรับรองให้บุคคลมีสิทธิเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินปฏิรูปด้วยตนเองไม่เกิน 18 ไร่ (3) ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 การโอนที่ดินหรือการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ไม่สามารถโอนให้แก่กันได้ เว้นแต่เป็นการตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรม ทายาทที่ไม่ใช่เกษตรกรก็ไม่สามารถรับมรดกได้เพราะกฎหมายกำหนดให้บุคคลที่รับโอนที่ดิน ส.ป.ก. ก็ต้องเป็นเกษตรกรเท่านั้น (4) ควรแก้ไขกฎหมายเพื่อกำหนดให้การแบ่งแยกหรือการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ส.ป.ก. สามารถโอนให้แก่กันได้ตามกฎหมายว่าด้วยกรรมสิทธิ์ หรือกำหนดให้ทายาทสามารถโอนรับโอนที่ดินที่เป็นมรดกได้ แม้ทายาทนั้นจะมิได้เป็นเกษตรกรก็ตาม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11351
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.51 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons