Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11356
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับค่าทดแทนแก่จำเลยในคดีอาญา
Other Titles: Legal problems on compensation paid to the accused in criminal case
Authors: อิงครัต ดลเจิม, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิชิต จันทร์กระจ่าง, 2519-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: ค่าทดแทน--คดีอาญา
ผู้ต้องหา--ค่าทดแทน
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2562
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมาย เกี่ยวกับค่าตอบแทนผู้เสียหาย ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาของกฎหมายต่างประเทศกับกฎหมายไทย (2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหาย ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายให้แก่จำเลยในคดีอาญาที่ปรากฏในระบบกฎหมายไทยในปัจจุบัน และ (3) เพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไขการจ่ายค่าตอบแทนผู้เสียหาย ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายให้แก่จำเลยในคดีอาญาที่ปรากฏในระบบกฎหมายไทยในปัจจุบัน การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยทางเอกสาร จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จากตำรากฎหมาย บทความทางวิชาการ งานวิจัยและผลงานทางวิชาการอื่นๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ โดยนำมาวิเคราะห์หาข้อสรุป เพื่อให้ได้ทราบถึงแนวคิด ทฤษฎี และแนวคิดวินิจฉัยของศาลเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยค่าตอบแทนผู้เสียทาย ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา ผลการศึกษา พบว่า (1) ในปัจจุบันมีหลายๆประเทศ เริ่มให้ความสำคัญต่อการปกป้องคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหาย และพยาน โดยในปี ค.ศ. 1964 ประเทศอังกฤษได้ทดลองแต่งตั้งคณะกรรมการชดเชยความเสียหายทางอาญาเพื่อพิจารณาจ่ายค่าชดเชยให้กับเหยื่ออาชญากรรมที่ได้รับบาดเจ็บสาหัส ส่วนในปี ค.ศ. 1976 ประเทศเยอรมนี ให้ประกาศใช้กฎหมายคุ้มครองสิทธิของเหยื่ออาชญากรรมฉบับแรกซึ่งใช้ชื่อว่า พระราชบัญญัติทดแทนแก่เหยื่อที่สหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 1982 ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติปกป้องเหยื่อและพยานและในปี ค.ศ.1985 องค์การสหประชาชาติได้แถลงประกาศว่าด้วยหลักการเบื้องต้นในงานยุติธรรมสำหรับเหยื่ออาชญากรรมเกี่ยวกับการใช้อำนาจในทางที่ผิด แต่สำหรับประเทศไทย ผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมยังเป็นกลุ่มบุคคลที่ถูกละเลยอยู่มาก กฎหมายอาญาของไทยยังไม่ได้มีบทบัญญัติถึงการจ่ายค่าชดเชยหรือค่าทดแทนสำหรับเหยื่ออาชญากรรมแต่ประการใด ผู้เสียหายจึงต้องดำเนินการฟ้องร้องเรียกจากผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในเรื่องของการละเมิด (2) ในการใช้ดุลพินิจในการวินิจฉัยการจ่ายค่าทดแทนให้แก่จำเลยของคณะอนุกรรมการในแต่ละจังหวัดที่ได้มีการแต่งตั้งมาจากคณะกรรมการกลางนั้นยังไม่มีหลักเกณฑ์การพิจารณาค่าทดแทนและแนวทางไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้ เนื่องมาจากการคณะกรรมการกลางที่เป็นผู้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมานั้นไม่ให้มีการกำหนดขอบเขตหรือมีการวางหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน เพื่อจะใช้เป็นแนวการพิจารณาค่าทดแทนให้แก่คณะอนุกรรมการ ซึ่งจะได้นำไปปฏิบัติให้เหมือนกันทั่วประเทศได้ และ (3) จึงเห็นควรให้คณะกรรมการกลาง ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้ง คณะอนุกรรมการขึ้นมานั้นต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยให้แก่คณะอนุกรรมการ ให้ชัดเจนว่าลักษณะของจำเลยประเภทใดบ้างที่จะได้รับค่าทดแทน และจะได้รับค่าทดแทนเป็นเงินจำนวนเท่าไร เพื่อเป็นหลักเกณฑ์ที่จะให้คณะอนุกรรมการนำไปปฏิบัติให้เป็นแนวทางเดียวกันทั่วประเทศ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/11356
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.79 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons